ความเครียดและการจัดการกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบบรรยายมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด 2) เพื่อศึกษาสาเหตุของความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด 3) เพื่อศึกษาการจัดการกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด ประชากรในการศึกษา เป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 146 คน ที่เรียนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ที่ฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด ภาคการศึกษาที่ 2-3 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความเครียด 3) แบบสอบถามสาเหตุความเครียด 4) แบบสอบถามการจัดการความเครียด มีค่า (IOC : Index of item objective congruence) มีค่าระหว่าง 0.67-1.00 ส่วนความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ค่าตั้งแต่ 0.80 ขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความเครียดของนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด พบว่า ส่วนใหญ่นักศึกษามีความเครียดน้อย ร้อยละ 59.59 ความเครียดมาก และความเครียดมากที่สุด เท่ากัน ร้อยละ 4.11
2. สาเหตุของความเครียดส่วนใหญ่ของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดจากการเรียน (Mean = 2.19, S.D. = 1.01) และความเครียดของนักศึกษาส่วนน้อยจากครอบครัว (Mean = 1.29, SD. = 0.75)
3. นักศึกษาส่วนใหญ่จัดการความเครียด โดยการพักผ่อน นอนหลับ/ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาอยูในระดับมาก (Mean=4.05, S.D.=0.99) และกิจกรรมที่นักศึกษาปฏิบัติในการจัดการความเครียดอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ หนีปัญหา/ไม่เผชิญปัญหาในขณะนั้น (Mean = 1.37, S.D. = 1.01)
4. ปัจจัยด้านครอบครัว ด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านบุคลิกภาพส่วนตัว ด้านการเงิน ด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงาน (r = .149, .289, .295, .342, .342, .344, .724 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยด้านบุคลิกภาพส่วนตัว ด้านการเงิน ด้านสิ่งแวดล้อม สามารถร่วมทำนายการเกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลได้ ร้อยละ 34.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กชกร ธรรมนำศิล และคณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล สถาบันเอกชนแห่งหนึ่ง
กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 7 (1), 60-75.
กฤตพัทธ์ ฝึกฝน และคณะ. (2561). ความเครียดและปัจจัยที่มีความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการครั้งแรก
บนหอผู้ป่วย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 19 (1), 161-168.
จันทิมา ช่วยชุม และคณะ. (2561). ความเครียดและปัจจัยที่มีความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการครั้งแรก
บนหอผู้ป่วย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 19 (1), 161-168.
พูลทรัพย์ ลาภเจียม. (2562). ผลของการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานต่อความรู้และทักษะการปฏิบัติ
การพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรม
ราชชนนี เชียงใหม่. ราชาวดีสาร, 9 (2), 42-54.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติการพยาบาลสูติศาสตร์ของนักศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35 (2), 91-99.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ . (2558). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติติงาน
ห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์, 22 (1), 7-16.
วัจมัย สุขวนวัฒน์ และคณะ. (2553). การพัฒนาแบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์
โดยการกำหนดเกณฑ์การประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 5 (2), 77-89.
วิสุทธิ์ โนจิตต์ และคณะ. (2563). ปัจจัยทำนายความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตร
พยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 10 (1), 118-128.
สืบตระกูล ตันตลานุกุล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2560). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษา
พยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9 (1), 81-92.
สุมาลี จูมทอง และคณะ. (2552). ประสบการณ์ความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาล
จากการเรียนภาคปฏิบัติในห้องคลอด. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15 (1), 39-56.
Lazarus R.S. and Folkman S. (1984). Stress, Appraisal, and Coping. Springer : New York.
Lazarus, R.S. and Folkman, S. (1987). Transactional theory and research on emotions and coping.
European Journal of Personality, 1, 141-170.