การแก้ไขปัญหาความเครียดด้วยหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

พระกิติคุณ สิริคุโณ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบ่อเกิดความเครียดในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) ศึกษาธรรมชาติความเครียดในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) ศึกษาหลักธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาความเครียด ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดในพุทธปรัชญาจัดว่าเป็นโรคทางจิตใจ เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นทางใจเพราะใจมีฐานเป็นอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ความเครียดในพุทธปรัชญานั้นมีลักษณะเป็นความคับข้องใจ ความไม่สบายใจ ความเร่าร้อนใจ การแก้ไขปัญหาความเครียดตามหลักพุทธปรัชญา ต้องแก้ที่จิตใจเท่านั้นถึงจะหายได้ หลักธรรมที่สามารถจะแก้ไขปัญหาความเครียดได้ ดังนี้ การประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ คือ รู้จักพิจารณาอย่างแยบคายรอบด้าน ทำความเข้าใจหลักของอริยสัจ 4 เจริญมหาสติปัฏฐาน 4 หลักธรรมดังกล่าวเป็นหนทางอันจะสามารถแก้ไขปัญหาความเครียดได้อย่างตรงประเด็น การแก้ไขปัญหาความเครียดโดยอาศัยการดื่มกินสุราเมรัย หรือไปทางอบายมุขต่าง ๆ นั่น ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาความเครียด กลับเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายที่จะให้ผลเป็นความเดือดร้อนกับตนเองและผู้อื่นอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิดานันท์ ชำนาญเวช. (2550). ความเครียด : ทัศนะในแนวคิดพุทธจิตวิทยา. ครุ จันทรสาร, 10 (1), 65-69.

เกษมสี สกุลชัยสิริวิช. (2565). แนวทางการบรรเทานิวรณ์ 5 ในชีวิตประจำวัน. มหาจุฬานาครทรรศน์,

(1), 182-196.

ชลวิทย์ เจียรจิตต์ . (2560). สถานการณ์และการจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาคณะสงฆ์

จังหวัดนครนายกและสระแก้ว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6 (4), 154-167.

ชาตรี ชุมเสน. (2562). การศึกษาวิเคราะห์โรคทางจิตในพุทธปรัชญาเถรวาท. มหาจุฬาวิชาการ, 6 ฉบับพิเศษ, 438.

ธรรมศักดิ์ กาญจนบูรณ์ . (2564). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพุทธจิตวิทยาการสอนในพุทธปรัชญาเถรวาท.

วารสารวิจัยธรรมศึกษา ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 4 (1), 1-10.

พระครูปลัดไพรัช จนฺทสโร (กาญจนแก้ว) และคณะ. (2561). การแก้ปัญหาโรคความเครี ยดด้วยพุทธปรัชญาว่าด้วย

มหาสติปัฏฐาน 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5 (2), 377-393.

พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร. (2556). พระอภิธรรม เจตสิกปรมัตถ์. นครปฐม :

สาละพิมพการ.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2557). มองศาสนา มองปรัชญา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาอำนวย มหาวีโร. (2562). การศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาความเครียดของบุคคลวัยทอง.

วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 3 (1), 66-79.

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี (เหมประไพ). (2557). พุทธปรัชญาในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (ม.ป.ป.). อานุภาพแหงกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันบันลือธรรม.

สนิท ศรีสำแดง. (2558). ปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพฯ : บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.