ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำและทัณฑสถาน เขต 10 ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

Main Article Content

จุฬภัทร์ จันทร์เมือง
ภิรดา ชัยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำและทัณฑสถาน เขต 10 ช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำและทัณฑสถาน เขต 10 ช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 กับระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่เรือนจำและทัณฑสถาน เขต 10 จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


ผลการวิจัยพบว่า


เจ้าหน้าที่เรือนจำและทัณฑสถาน เขต 10 มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านนโยบายและการปกครองบังคับบัญชาช่วงสถานการณ์โควิด-19 เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจจัดอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.04 ในขณะที่ด้านรายได้      และสวัสดิการช่วงสถานการณ์โควิด-19 เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 3.36 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ช่วงอายุงาน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แตกต่างกัน ในขณะที่ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของเจ้าหน้าที่เรือนจำและทัณฑสถาน เขต 10 ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์. (2564). คำแนะนำในการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19. กรุงเทพฯ : กรมราชทัณฑ์.

กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมราชทัณฑ์. (2564). ข้อสั่งการให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมราชทัณฑ์ถือปฏิบัติในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์.

กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมราชทัณฑ์. (2564). สถิติเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์. กรุงเทพฯ : กรมราชทัณฑ์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตรการพิมพ์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

ประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์. (2564). สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมราชทัณฑ์. [Online]. Available : http://www.correct.go.th/?author=123482. [2564, ธันวาคม 10].

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุคส์ พับลิเคชั่นส์.

ลัดดาพร กุลแก้ว และคณะ. (2564). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานและความพึงพอใจในงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรมในจังหวัดนครพนม. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1 (1), 12-24.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2556). วิธีและเทคนิคในการวิจัยทางรัฐศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิรประภา ภาคีอรรค. (2562). ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร.การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย. (2563). VIRTUAL FORUM “เปิดเมืองอย่างไรให้ปลอดภัย”. [Online]. Available : https://www.tijthailand.org/th/highlight/detail/living-with-covid-19-ep1. [2564, สิงหาคม 15].

สิริรัตน์ ทุ่งสินธุ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรเรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2563). ประสิทธิภาพการรักษา Covid-19 ของไทย. [Online]. Available :https://www.thaigov.go.th/infographic/contents/details/4620. [2564, สิงหาคม 15].

อำนวยชัย บุญศรี. (2556). ทฤษฎีของเฮอร์ซเบอร์ก และทฤษฎี x และทฤษฎี y. [Online]. Available : Aumnuychai.blogspot.com. [2564, สิงหาคม 17].

French, W. L. (1994). Human Resources Management. 3rd ed. Boston, MA : Houghton Mifflin.

Gilmer, B. V. (1967). Applied psychology. New York : McGrew-Hill.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGrew-Hill Book Company.

Herzberg, F., Mauser, B., & Snyderman, B. (1959). The motivation to work. New York : McGraw-Hill Bo.