การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิดให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดในกลาง จังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 โดยวิธีการการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มีค่าประสิทธิภาพ 84.37/87.78
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 28, σ= 0.20)
Article Details
References
กาญจนา คุณารักษ์. (2553). การออกแบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
ไกรษร ประดับเพชร. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไตรคามประชาสรรค์. โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2561.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5 (1), 7-20.
ทิพวรรณ บุญรินทร์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้แผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธิดา บู่สามสาย. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกาญจนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 9 (3), 191-204.
พรทิพย์ แจ่มหอม. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชุดนิทานและตำนานพื้นบ้าน จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
มัทธิรา ศิริตานนท์ และสิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์. (2559). การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด. วารสารราชพฤกษ์, 14 (3), 95-99.
รังษิมา สุริยารังสรรค์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศรีวรรณ ศรีสวัสดิ์. (2559). ทักษะทางภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย.สถาบันภาษาไทย, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). คู่มือการดำเนินงานอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ พุทธศักราช 2558. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุคนธรัตน์ สวัสดิกูล. (2554). การสร้างชุดการสอนอ่านจับใจความด้วยวิธี SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2557). การอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.