แรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี

Main Article Content

กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะประจำสายงานด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี และ 3) เพื่อศึกษาสมการทำนายสมรรถนะจากแรงจูงใจในการทำงานด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนของจังหวัดสระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 1 และ เขต 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,629 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 และ เขต 2 โดยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน จำนวน 336 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามหลักการของลิเคิร์ท มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple Correlation) และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุเชิงเส้นตรง (Multiple Linear Regression Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise)


ผลการวิจัยพบว่า


1. สมรรถนะประจำสายงานด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


2. แรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงาน คือ ด้านปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ความสำเร็จของงาน  ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน และลักษณะของงาน สำหรับด้านปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ นโยบายและการบริหารงาน และสถานภาพในการทำงาน


3. สมการทำนายสมรรถนะจากแรงจูงใจในการทำงาน ด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 57.40 (R2 = .574) สรุปได้ว่าเมื่อตัวแปรความสำเร็จของงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ลักษณะของงาน นโยบายและการบริหาร และสถานภาพในการทำงาน ทั้ง 5 ตัวแปร สามารถร่วมกันอธิบายสมรรถนะครูด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ได้ร้อยละ 57.40  ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการโดยใช้คะแนนมาตรฐานดังนี้ Comp’=.359 (Mo1)+.241 (Mo5)+.258 (Mo3)-.159 (Mp1)+.152 (Mp4)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพันธ์ คำบาล และคณะ. (2565). การพัฒนาสมรรถนะครูของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. [Online]. Available : http://edad.edu.ku.ac.th/Thesis%20IS%

/1%20%20Kittipan%20%20Kumbal.pdf. [2565, มีนาคม 16].

ขนิษฐา ปานผา. (2558). สมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ของครูตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

จิระวรรณ บุญปลอด. (2553). สมรรถนะทางวิชาการของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ณัฐดนัย ไทยถาวร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี.[Online]. Available : http://www.repository.rmutt.ac.th › dspace › handle.

, พฤษภาคม 22].

ไพรินทร์ ขุนศรี. (2559). แรงจูงใจของครูกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. [Online]. Available : https://so02.tci- thaijo.org/index.php/ EdAd/

article/view/151770. [2565, พฤษภาคม 22].

รัชนิดา ไสยรส และสิทธิพรร์ สุนทร. (2561). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 16 (1), 31-40.

นิทัศน์ หามนตรี. (2558). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูถัมภ์,

(2), ปี 177-185.

สุดามาส ศรีนอก และถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข. (2557). ปัจจัยสมรรถนะครูและทักษะชีวิตของนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37 (3), 156-166.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2553). การผลิตและพัฒนาครูบนเส้นทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวาน.

Krejcie, R. V and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30, 607–610.

Miner, J.B. (1998). Theories of Organizational Structure and Process. Illinois : Chicago, the dryden press.

Herzberg, Frederick; Mausner, Bernard; Snyderman, Barbara B. (1959). The Motivation to Work. 2nd ed. New York : John Wiley.

William S. Gosset. (1908). The Probable Error of a Mean. [Online]. Available : https://bayes.wustl. edu/Manual/Student.pdf#page=1&zoom=auto,-73,770. [2023, March 1].