การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลองค์ประกอบสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยเป็นครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง จำนวน 120 แห่ง รวม 480 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ แบบสอบถามชุดนี้ครอบคลุมสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะ ด้านทัศนคติ และด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำทางวิชาการ วิเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า
โมเดลองค์ประกอบสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าไค-สแควร์ (𝜒2) เท่ากับ 240.93 p-value เท่ากับ .25ค่า 𝜒2/df เท่ากับ 1.06 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า GFI เท่ากับ 0.96 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.011 และ Standardized RMR เท่ากับ 0.02
Article Details
References
ฉารีฝ๊ะ หัดยี. (2564). สภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลสำหรับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในระดับอาชีวศึกษาผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41 (2), 19-29.
พงศ์เทพ จิระโร. (2559). หลักการวิจัยทางการศึกษา : Principles of Educational Research. พิมพ์ครั้งที่ 7. ชลบุรี : บัณฑิตเอกสาร.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2564). เทคนิคการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.
ลือชัย ใจเดียว. (2552). สภาพและปัญหาการดำเนินงานตามแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
ศจี จิระโร. (2556). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสร้างข้อสอบของครูโดยการเสริมพลังอำนาจผ่านกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร เขียวกอ. (2548). การพัฒนาสมรรถภาพด้านการประเมินสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษา : การเปรียบเทียบผลการฝึกอบรมระหว่างการฝึกอบรมครูแบบดั้งเดิมและแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
สุปราณี จำปา. (2548). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความเชื่อเรื่องความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา, 3 (1), 83–97.
สุวิมล ว่องวานิช. (2549). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อินตอง ศรีอุดม. (2552). รูปแบบการพัฒนาการวัดผลและการประเมินผลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 : กรณี โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 96 (ชุมชนบ้านธาตุ).
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
อุษณี บรรจงกิจ. (2553). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการขาดแรงจูงใจทางวิชาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 8 (2), 86-102.
Hair, J. E., Jr, Black., W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariable data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.