รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์สมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยวิธีสนทนากลุ่ม และ 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา ดำเนินการวิจัยแบบกึ่งทดลอง และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ (MANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1) สมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โมเดลองค์ประกอบสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษาประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสร้างความตระหนัก ขั้นเสริมภูมิความรู้ ขั้นจนเกิดทักษะ และขั้นเป็นผู้นำทางวิชาการ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
3) สมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลในการการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และครูมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
Article Details
References
จิราวัฒน์ ขจรศิลปะ. (2553). การนำเสนอรูปแบบโรงเรียนกีฬาต้นแบบในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา วชิรหัตถพงศ์. (2564). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อการเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุรนันท์ ตามกาล. (2559). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาสนา เชื่อลี. (2562). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสร้างข้อสอบของครูประถมศึกษาโดยการบูรณาการกระบวนการนิเทศการศึกษาร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิหาญ พละพร. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินการคิด สำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15 (2), 74-84.
ศจี จิระโร. (2556). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสร้างข้อสอบของครูโดยการเสริมพลังอำนาจผ่านกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศศิธร เขียวกอ. (2548). การพัฒนาสมรรถภาพด้านการประเมินสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษา : การเปรียบเทียบผลการฝึกอบรมระหว่างการฝึกอบรมครูแบบดั้งเดิมและแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
สมรัชนาฏ ฦาชา (2558). การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำบัญชีของนักบัญชี.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. [Online]. Available : https://www.nesdc.go.th/ewt_ dl_link.php?nid=6422.. [2566, มีนาคม 1].
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561).กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุวิมล ว่องวานิช. (2549). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หทัยกานต์ เลขานุกิจ. (2563). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.