การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปุรณาวาส

Main Article Content

วิมล วิริยาเสถียร
กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ
วีระ วงศ์สรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาผลการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ โดยกระบวนการ คิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปุรณาวาสที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประชากร ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดปุรณาวาส สำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 235 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 ที่เรียนรายวิชาภาษาจีน รหัสวิชา จ15201 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย (1) ชุดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ (2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาจีน โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) (3) แบบทดสอบผลการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ มีความเชื่อมั่น 0.92 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาจีน โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) มีความเชื่อมั่น 0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความก้าวหน้า (Normalized Gain)


ผลการวิจัยพบว่า 


ผลการเรียนรู้ทางการเรียนวิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปุรณาวาส มีผลการเรียนรู้เฉลี่ยร้อยละ 71.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปุรณาวาสมีค่าความก้าวหน้าเท่ากับ 0.51 อยู่ในระดับปานกลาง และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาจีน โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) อยู่ในระดับมาก (x̅=4.33, S.D.=0.67)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศเพื่อการศึกษา. (2564). กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ 5 สเต็ป กระตุ้นสร้างแอคทีฟเลินนิ่ง. [Online]. Available: https://www.thaiedreform2022.org. [2564, ธันวาคม 7].

คะนึงนิตย์ ดีพันธ์. (2561). ผลการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทองสุข รวยสูงเนิน. (2552). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า กรุงเทพมหานคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พรพรรณ ศรีหาวงศ์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรรณี ชูทัย. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74ก. 1-23.

วาวรินทร์ พงษ์พัฒน์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นโดยการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดศรีสุทธาราม จังหวังสมุทรสาคร. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, Available : http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/2176.ru. [2564, ธันวาคม 23].

ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์. (2561). Active Learning กระบวนการสร้างคุณภาพแท้สู่ประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ อินเตอร์เนชั่นแนล.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2561). เอกสารการอบรมการจัดการเรียนรู้ GPASS 5 Steps.กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้”. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 6 (2), 1-13.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก [Active Learning].ลำปาง : สำนักงานเขนพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หน่วยศึกษานิเทศก์. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุชีรา จันครา. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการ GPAS และการประเมินเพื่อการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ) สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20 (1), 196-210.

สุมาลี ภูศรีอ่อน. (2564). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ด้วยวิธีสอน GPAS 5 Step ร่วมกับเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม. ขอนแก่น : โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม.

Anderson, L. W., and Krathwohl, D. R., et al. (2001). A Taxonomy for Learning Teaching and Assessing : A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. New York : Longman.