ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนภาษาจีน ในโรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ทนงศักดิ์ มิตรพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นการตัดสินใจของผู้ปกครองต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 394 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า


1. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ =3.50, σ = 0.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านบุคลากรของโรงเรียน ด้านความต้องการส่วนบุคคล ด้านสังคม ด้านอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และด้านค่าใช้จ่าย ตามลำดับ


2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นการตัดสินใจของผู้ปกครองต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าผู้ปกครองที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเรียนภาษาจีนในภาพรวมแตกต่างกัน ในขณะที่ผู้ปกครองที่มีเพศ อายุ ระตับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเรียนภาษาจีนในภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา มักเชียว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนโชติกาญจน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิรัชยา ประทีปโชติพร และรัชนีวรรณ ปัญญามณี. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาภาษาจีนของนักศึกษาในสถาบันระดับอุดมศึกษา. International Chinese Language Teaching Journal (ICLT), 1 (1), 72-85.

ดิศพงษ์ จิตร์บำรุง และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในวิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิค อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2 (1), 47-60.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์.

นิศาชล สืบแจ้ (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนพระราม 9 กาญจนาภิเษก สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ปารีชะ รักเกื้อ และรัฐพร ศิริพันธุ์. (2564). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนอักษรจีนของนักศึกษาวิชาโทภาษาจีนคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8 (2), 164-179.

ปุนญิศา คงทน. (2561). สภาพและปัจจัยที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาจีนของนักเรียนไทยที่ประเทศจีน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8 (1), 23-29.

พจนารถ วิเชียรเทียบ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชลกันยจนุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18.

วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชญา โพธิ์ทอง. (2560). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโครงการเรียนสองภาษา (English program) โรงเรียนพนัสพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฟ้าใส นามเทียร และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนขนาดเล็กในกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9 (3), 337-338.

ภูริชญา อินทรพรรณ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้บุตรหลานเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12 (3), 270-283.

ยุภาพร นอกเมือง และสันติพงษ์ ทองดี. (2563). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจศึกษาต่อทางด้านภาษาจีนระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยในประเทศจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีนโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6 (6), 108-119.

รวีวัลย์ เนื่องจำนง และสุภาวดี ลาภเจริญ. (2564). ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนชลกันยานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. .Journal of Graduate School, 18 (82), 32-40.

วรรณิษา ไวยฉายี. (2565). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานการณ์ปัจจุบัน : มุมมองของผู้เรียนต่อการพัฒนาสถาบันสอนภาษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.16 (1), 153-166.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2557). การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.สุทธาสินี ชวนวัน และผดุง พรมมูล (2560). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนสายวิทยา อำเภอปราณบุรึ จังหวัดประจวบศีรีขันธ์. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13 (3), 154-164.

เหม หมัดอาหวา และคณะ. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาเอกชนระดับอนุบาลเขตเทศบาลนครหาดใหญ่. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 HATYAI UNIVERSITY ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน 2559 (หน้า 336-346) สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behaviors. Organizational Behavior and Human Decision Process, 50, 179-211.

Likert R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale", Reading in Altitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin, Ed. NewYork : Wiley & Son.