รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดไผ่ตัน สำนักงานเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รัสรินทร์ รวงผึ้งวีระโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่เหมาะสม โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านคุณธรรม จริยธรรม จำนวน 3 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 10 คน กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตีความ การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 596 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 207 คน และข้าราชการครู จำนวน 389 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณสูตรของทาโร ยามาเน่ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า


1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลประกอบด้วยการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียน และการบริหารจัดการโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกกับรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา โรงเรียนวัดไผ่ตัน สำนักงานเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่เหมาะสม โดยภาพรวมพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด (x̅ = 4.26, S.D. = 0.58) และรายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุดตามลำดับ และข้าราชการครู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด (x̅ = 4.28, S.D. = 0.56) และรายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุดตามลำดับ ผู้วิจัยเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ โรงเรียนวัดไผ่ตัน สำนักงานเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ที่เหมาะสม ตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวม อธิบายความผันแปรของรูปแบบการพัฒนา ได้ร้อยละ 99.80 (R2 = 0.998) โดยสามารสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ โรงเรียนวัดไผ่ตัน สำนักงานเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ที่เหมาะสม โดยเน้นการปลูกฝังคุณธรรมเพียง 4 ประการ ได้แก่ 1) รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานที่ 1 สามัคคี เน้นการสร้างความสามัคคีให้กับนักเรียน 2) รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานที่ 2 ขยันเน้น การสร้างความขยันให้กับนักเรียน 3) รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานที่ 3 ซื่อสัตย์ เน้นการสร้างความซื่อสัตย์ให้กับนักเรียน และ 4) รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานที่ 4 มีวินัย เน้นการสร้างความมีวินัยให้กับนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะทำงานโรงเรียนวัดไผ่ตัน. (2561). แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพฯ : โรงเรียนวัดไผ่ตัน สำนักงานเขตพญาไท.

พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์ และวรรณพล พิมพะสาลี. (2563). แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง. 9 (2), 63-80.

พระธรรมปิฎก. (2553). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 122. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระมหาชานนท์ ชัยมงคล (2561). การศึกษาการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

สุมิตร สุวรรณ และคณะ. (2563).การพัฒนาพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมคณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารการเมืองการปกครอง. 10 (3), 207-227.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานครฉบับที่ 3 (2564-2569). กรุงเทพฯ : ส่วนนโยบายและแผนการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.

Cranley, Mary Elizabeth. (2003). “Tessaan school : the moral Life of a Thai Primary School. Dissertatin Abstracts International. 64 (05) : 1513–A.

Henson, Robon K. (2001). Perceived Responsibility of Prospective Teacher for the Moral Development of Their Student. Dissertation Abstracts International. 25 (8) : 131 A.

Lunenburg, F. C., & Irby, B. J. (2006). The principal ship: Vision to action. Belmont, CA : Wadsworth/Cengage Learning.

Vroom, H. V., & Deci, E. (1970). Management and motivation. New York : PenguinBook.