การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 42 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติทดสอบที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.หลักการ 2.วัตถุประสงค์ 3.เนื้อหา 4.ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน มี 5 ขั้น คือ 1) ขั้นเสนอเนื้อหา 2) ขั้นสำรวจและศึกษาข้อมูล 3) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล 4) ขั้นสังเคราะห์และสร้างสรรค์ 5) ขั้นประยุกต์ใช้ และ 5.การวัดและประเมินผล รูปแบบการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.97, SD = 0.02)
2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า (1) ความสามารถด้านการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อรูปแบบการสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̅ = 4.55, SD = .091)
Article Details
References
กมล โพธิเย็น. (2565). แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่การสร้างนวัตกรรม โดยใช้แนวคิดของเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20 (1), 10–30.
กันต์ฤทัย คลังพหล. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. ปทุมธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2554). การรู้เท่าทันสื่อ : การก้าวทันบนโลกข่าวสาร. วารสารนักบริหาร, 1 (31), 117-123.ปุณรัตน์ พิพิธกุล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญวิษา วัฒนปรีชานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ วราธิพร. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วรรณรี ตันติเวชอภิกุล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับครอบครัวเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกุลการ สังข์ทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน และเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย. (2559). กรอบแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย. เอกสารประกอบการประชุมโต๊ะกลม การพัฒนา กรอบแนวคิด และหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ณ โรงแรมแมนดาริน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2559.กรุงเทพฯ : โรงแรมแมนดาริน.
สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2561). การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ : เทคนิคการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ (CORI) ร่วมกับกลวิธีอาร์ อี เอ พี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 10 (1), 91–114.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อุษา บิ๊กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. สุทธิปริทัศน์, 26 (80), 147-162.