การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา โรงเรียนมูลนิธิภูมิตะวันวิทยา

Main Article Content

ทิพย์อารี กิจจาพิพัฒน์
ไสว ฟักขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษาให้มีคุณภาพ 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร ฝึกอบรมฯ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯกระบวนการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษา ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการฝึกอบรม 2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 3) การนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ และ 4) การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประถมศึกษา โรงเรียนมูลนิธิภูมิตะวันวิทยา สังกัดกลุ่มส่งเสริม การศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี จำนวน 21 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมและคู่มือ แบบสอบถามความต้องการในการฝึกอบรม แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการ จัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า


1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา โรงเรียนมูลนิธิภูมิตะวันวิทยาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เป้าหมาย 4) เนื้อหาสาระ 5) ระยะเวลา 6) โครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 7) กิจกรรมการฝึกอบรม 8) สื่อการฝึกอบรม และ 9) การวัดและประเมินผล ผลของการประเมินคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.43 และคู่มือหลักสูตรฝึกอบรมฯ ผ่านการประเมินคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.84 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.59  


2. ผลประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมฯ พบว่า 2.1) ครูประถมศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2) ครูประถมศึกษามีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังการฝึกอบรมตามหลักสูตรฯ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  


3. ครูประถมศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ทิพย์อารี กิจจาพิพัฒน์ , นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน

References

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 45 (3), 17-33.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2562). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง กับ PLC เพื่อการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนมูลนิธิภูมิตะวันวิทยา. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) โรงเรียนมูลนิธิภูมิตะวันวิทยา ปีการศึกษา 2564. ปทุมธานี : โรงเรียนมูลนิธิภูมิตะวันวิทยา.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง

ศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561.กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

_______. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง

ศึกษาธิการ. (2565). (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

(2565). ผลการประเมินผลจากการลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษา โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

อภิวาส โพธิตาทอง และเหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี. (2563). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสําหรับสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2564). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13 (2), 169-183.

อุไรรัตน์ ยามาเร็ง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างเจตคติต่อการสอนแบบ Active Learning สำหรับผู้สอนตาดีกาในจังหวัดยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 10.มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Hatta, P., et al. (2020). Active Learning Strategies in Synchronous Online Learning for Elementary School Students. Indonesian Journal of Informatics Education, [Online]. 4 (2), 86-93. Available : https://www.learntechlib.org/p/218636/. [2022, December 12].

Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill / Irwin.