การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมดนตรีพหุสัมผัส เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

กิติศักดิ์ เสียงดี
อัญชลี บุญจันทึก

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของเด็กปฐมวัยระดับชั้นปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมดนตรีพหุสัมผัส เรื่องรูปแบบเพลง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยระดับชั้นปีที่ 3 อายุ 5–6 ปี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมดนตรีพหุสัมผัส จำนวน 8 กิจกรรม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องรูปแบบเพลง ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test Dependent sample


ผลการวิจัยพบว่า 


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมดนตรีพหุสัมผัส เรื่องรูปแบบเพลง ส่งผลให้เด็กปฐมวัยระดับชั้นปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กาญจนา พรหมซาว. (2553). การใช้แนวการสอนพหุประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความรู้คำศัพท์ และความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โกวิทย์ ประวาลพฤกษ์ และคณะ, (2541). ประสาทสัมผัส. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

จรีลักษณ์ จิรวิบูลย์. (2545). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาที่มีความ

บกพร่องในการเรียนรู้ด้านการอ่านตามแนวคิดพหุสัมผัสและแนวคิดสื่อกลางการสอน.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2558). การเรียนรู้ผ่านพหุประสาทสัมผัส. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 50, 63-68.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อัญชลีพร ปัญโญ. (2554). การใช้แนวการสอนพหุสัมผัสเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ และ ทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.