การศึกษาคุณลักษณะมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 2) เพื่อจัดอันดับคุณลักษณะมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความรับผิดชอบ 2) ด้านการติดต่อสื่อสาร และ 3) ด้านการพัฒนาตนเอง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ จำนวน 417 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาวิชาชีพครู เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 33 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x̅=4.21, S.D.=0.43)
2. เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า คุณลักษณะมนุษยสัมพันธ์อยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านด้านความรับผิดชอบ ( x̅=4.30, S.D.=0.45) ด้านด้านการติดต่อสื่อสาร (x̅=4.22, S.D.= 0.47) และด้านด้านการพัฒนาตนเอง (x̅=4.13, S.D.=0.50) ตามลำดับ
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ ราชโคตร์. (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : ดวงแก้ว.
ขณิดา สุดตาชาติ. (2559). คุณลักษณะมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากรในสถานศึกษาขยายโอกาสสังกัดสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
คุรุสภา. (2563). ราชกิจจานุเบกษาประกาศรายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบ
และประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563. [Online]. Available: http://www.ksp.or.th.
, August 7].
จริญญา สมานญาติ. (2564). คุณลักษะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
วิทยาเขตชัยภูมิ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, 15 (4), 45-56.
จำนงค์ นามมา และจักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2564). มิติของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ.
วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6 (2), 779-790.
เจษฎา บุญมาโฮม. (2564). มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู : จิตวิทยาสัมพันธภาพเชิงกระบวนทัศน์.
นครปฐม : สไมล์ พริ้นติ้ง & กราฟิกดีไซน์.
ธีราภรณ์ พลายเล็ก. (2558). รายงานการวิจัย เรื่องทัศนคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ กรณีศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
นภสร ศิริเจริญศรีและอาทิตย์ ขวัญเขียน. (2561). ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณสมบัติของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41 (1), 39-50.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2565). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า
กับกลุ่มตัวอย่าง. [Online]. Available: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/
view/148945/109451. [2022, August 8].
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2554). เอกสารคำบรรยาย เรื่อง สถิติวิเคราะห์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์.
ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พจมาลย์ สกลเกียรติ. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ตามทัศนะของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. (หน้า 446-456). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ภาพพิมพ์ พรหมวงศ์. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ
ปี, 111-119.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วิภาภรณ์ บุญยงค์. (2560). การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนามนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารราชนครินทร์, 14 (32), 63-70.
สมพร สุทัศนีย์. (2554). มนุษยสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนันท์ สีพาย. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่ดีในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13 (2), 246-263.
สุวิมล ตริกานันท์. (2543). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kerlinger, N.F. (1986). Foundations of Behavioral Research. 3rd ed. New York : Holt Rinehard &
Winston,Inc.
Neuman,W.L. (1991). Social Research Methods : Qualitative and Quantitative Approaches.
Boston : Allyn and Bacon.