การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเชื่อด้านวัฒนธรรมแบบพอเพียงกับความตั้งใจประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กของนักศึกษาเจเนอเรชั่นซี ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ประกายทิพย์ จันทร์แป้น
เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์
ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของวัฒนธรรมแบบพอเพียงกับความตั้งใจประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของวัฒนธรรมแบบพอเพียงกับความตั้งใจประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กของนักศึกษาเจเนอเรชั่นซีในกรุงเทพมหานคร การวิจัยเป็นเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาของมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,320 คน วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์


ผลการวิจัยพบว่า


โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของวัฒนธรรมแบบพอเพียงกับความตั้งใจประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กของนักศึกษาเจเนอเรชั่นซี ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยที่วัฒนธรรมแบบพอเพียงมีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงกับความตั้งใจประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.41 นอกจากนี้ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลยังสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความตั้งใจประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กได้ร้อยละ 16.7

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณพ คณา และคณะ. (2564). การศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตผ่านโมเดล LOVs และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อตราสินค้าประเภทอุปกรณ์ไอทีแบบพกพาของ Generation ME ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31 (1), 120-133.

เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์. (2558). การพัฒนาความเชื่อด้านวัฒนธรรมแบบพอเพียงด้วยเทคนิคเดลฟาย. RMUTT Global Business and Economics Review, 10 (1), 91-105.

_______. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ : ความเชื่อด้านวัฒนธรรมแบบพอเพียงของนักทองเที่ยวไทย 3 ช่วงอายุ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23 (41), 37-58.

ยุวดี ไชยศรี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจผันตัวเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขายสินค้าผ่านออนไลน์ของประชาชนที่อยู่ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการบัญชีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัตนภิมล ศรีทองสุข และพัชนี เชยจรรยา (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าร่วมการตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายและเจเนอเรชั่นแซด ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 3 (1), 1-18.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior : An introduction to theory and research. Reading, MA : Addison-Wesley.

Hootsuite & We Are Social. (2019). Digital in 2019 : Global Internet Use Accelerates.[Online]. Available : https://wearesocial.com/uk/blog/2019/01/digital-in-2019-global-internet-use-accelerates. [2019, January 31].

Jones and George, (2003). Internal Marketing & a Conceptual Model For Development of Employees as Brand. ASA University Review, 3 (2), 87.

Kotler, Philip. (1997). Principles of Marketing. New Jersey : Prentice-Hall, Inc.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. 3rd ed. New York : Taylor and Francis Group.