การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สมาพร มณีอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการและครูผู้สอนก่อนและหลังการศึกษาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาผลการนิเทศติดตามผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูผู้สอนในการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูผู้สอนที่มีต่อกระบวนการนิเทศติดตามการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูผู้สอน โดยการสุ่มแบบอาสาสมัคร (Volunteers Sampling) รวม 26 คน เครื่องมือประกอบด้วย หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา แบบสอบถามความรู้ ความเข้าใจ แบบนิเทศติดตาม และแบบประเมินความพึงพอใจ แบบแผนการทดลองแบบ 1 กลุ่ม Pretest Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test


ผลการศึกษาพบว่า


1) ผู้บริหำรสถำนศึกษา ครูวิชาการ และครูผู้สอน มีความรู้ความเข้าใจหลังศึกษาสูงกว่าก่อนศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


2) สถานศึกษานำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้จัดการเรียนการสอน โดยมีผลการนิเทศ ครั้งที่ 1 มีค่าร้อยละ 87.50 และครั้งที่ 2 มีค่าร้อยละ 100


3) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูผู้สอน มีความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศติดตามการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก  (x̅=4.47, S.D.=.39)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธิชานนท์ คงอ่อน. (2562). แนวทางการพัฒนาการบริหารหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปราณี อนุอัน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยะวรรณ ปานโต. (ม.ป.ป.). สังคมไทยกับการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน. [Online], Available : https//www.parliament.go.th. (2565, พฤษภาคม 31).

ปุณฑริก พรชนะวัฒนา. (2562). การบริหารหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย.

รัตนา ดวงแก้ว. (2561). การบริหารและการพัฒนาหลักสูตร ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารวิชาการและทรัพยากรการศึกษา. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจิตร อาวะกุล. (2537). การฝึกอบรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรยา จันทรา. (2547). การประเมินบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในสังกัดเทศบาล จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สายยนต์ จ้อยนุแสง. (2552). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญา. การศึกษาอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2565). ประวัติความเป็นมาขององค์กร.[Online], Available : https //www.nacc.go.th. (2565, พฤษภาคม 30).

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education). ม.ป.ท.

_______. (2562). หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม “การป้องกันการทุจริต”. นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด สาขา 4.