การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมระดับเพชรต้นแบบ โครงการ “โรงเรียนคุณธรรมนนทบุรี เทิดไท้องค์ราชัน”

Main Article Content

สมาพร มณีอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมระดับเพชรต้นแบบ โครงการ “โรงเรียนคุณธรรมนนทบุรี เทิดไท้องค์ราชัน” 2) เพื่อนำผลที่ได้จากการถอดบทเรียนมาเป็นฐานข้อมูลกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหารโรงเรียน และรองผู้บริหารโรงเรียน 2) ครูที่รับผิดชอบโรงเรียนคุณธรรม 3) ครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และ 4) ครูที่ร่วมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียน รวม 12 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย สรุปสาระสำคัญ จัดกลุ่มตามประเด็นสาระที่สอดคล้องหรือแตกต่างกัน


ผลการวิจัยพบว่า


กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมระดับเพชรต้นแบบ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างการรับรู้และการยอมรับ 2) การสร้างครูแกนนำและนักเรียนแกนนำ 3) การกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ 4) การกำหนดวิธีการบรรลุคุณธรรมอัตลักษณ์ 5) การลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และ 6) การสร้างกลไกการขับเคลื่อน สำหรับมาตรฐานและตัวชี้วัดในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ มาตรฐานด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลลัพธ์ ดังนี้ 1. ด้านกระบวนการ ได้แก่ 1) มีกระบวนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมทั้งโรงเรียน            2) มีกลไกคณะทำงาน 3) ใช้โครงงานคุณธรรมเป็นเครื่องมือ 4) ทุกคนมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ 2. ด้านผลผลิต ได้แก่ 1) พฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น 2) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง 3) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม 3. ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ 1) มีองค์ความรู้/นวัตกรรม 2) บูรณาการ ในชั้นเรียน และ 3) เป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนคุณธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). ครูกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

จักรี วงศ์อักษร. (2560). ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระมหารถศรี อินธิสิทธิ์ (ติกฺขปญฺโญ). (2563). การบริหารโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ต้นแบบ กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วีรพงศ์ ถิ่นแสนดี. (2550). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโดยกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โรงเรียนสิงห์สะอาด อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต. (ม.ป.ป.). แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี พ.ศ. 2565. [Online]. Available : https://ops.moe.go.th. [2565 พฤษภาคม 30].

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2558). คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้ง

แอนด์พับลิสซิ่ง.สมปอง ใจดีเฉย และคณะ. (2554). การสังเคราะห์องค์ความรู้กระบวนการสร้างโรงเรียนต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุริยนต์ อินทร์อุดม. (2560). การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม ในเขตตรวจราชการที่ 10 โดยกระบวนการ SPREAD (รายงานวิจัย). โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เขตตรวจราชการที่ 10 จังหวัดอุดรธานี.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (ฉบับ Update ล่าสุด). [Online]. Available : https://www.krisdika.go.th/law?lawId=2. [2565 พฤษภาคม 13].

อมรรัตน์ วงศ์ศรียา. (2562). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. : กรณีโรงเรียนบ้าน นาแมด สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อาอีซัน เกปัน. (2555). สภาพ ปัญหา และแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมอิสลามแก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ .