แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ภายใต้ระบบราชการ 4.0 ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล เขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ศศิธร จันทร์ปลูก

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลต่างกัน 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล 3) ศึกษาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ภายใต้ระบบราชการ 4.0 ที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล และ 4) หาแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ภายใต้ระบบราชการ 4.0 ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล เขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 183 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และระดับการศึกษามีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  


2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  


3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ภายใต้ระบบราชการ 4.0 ด้านการประเมินผล และด้านการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


4) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ภายใต้ระบบราชการ 4.0 ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า ควรเร่งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจกับระบบราชการแบบใหม่ที่เน้นการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล ควรเร่งพัฒนาระบบการทำงานที่มีความเชื่อมโยงผ่านระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และควรเร่งการพัฒนาการปฏิบัติงานโดยเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างนวัตกรรม มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และจินตกานด์ สุธรรมดี. (2560). กรอบแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การใน

ศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12 (ฉบับพิเศษ), 168-184.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Development. กรุงเทพฯ :

ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นรินทิรา ผิวโต. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานภายใต้ระบบราชการ 4.0 : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลดอนฉิมพลี

จังหวัดฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2560). ระบบราชการ 4.0 กับการสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ. [Online]. Available : https://www.dpe.go.th/manual-files-401291791810. [2566, มิถุนายน 9].

พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2551). เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง อะไร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยพัฒน์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ = Management and organizational behavior. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

อิสระพงศ์ กุลนรัตน์ และธนวิทย์ บุตรอุดม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นระบบราชการ 4.0 ของเทศบาลนคร

อุดรธานี. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 9 (1), 37-48.

อทิติ เพ่งพิโรจ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลจังหวัดนราธิวาส.

สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Desimone, R. L. Werner, J. M. & Harris, D. M. (2002). Human Resource Development. 3rd ed. Fort Worth : Harcourt Brace College.

Dessler, Gary. (2009). A Framework for Human Resource Management. 5th ed. New Jersey : Pearson Education.

Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. 3rd ed. Illinois : Irwin.

Thompson, A. A. & Strickland, A.J. (2003). Strategic Management : Concepts and Cases. 12th ed. Boston : McGraw-Hill.