การพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ร่วมกับแบบฝึกตาราง 9 ช่อง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนร่องคำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ร่วมกับแบบฝึกตาราง 9 ช่องของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เปรียบเทียบทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ร่วมกับแบบฝึกตารางเก้าช่องกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนร่องคำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ร่วมกับแบบฝึกตาราง 9 ช่องของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.19/91.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2) นักเรียนมีทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ร่วมกับแบบฝึกตาราง 9 ช่อง สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
_____________. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิตติภูมิ บริสุทธิ์ และเพียรชัย คำวงษ์. (2555). ผลของการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวต่อการทดสอบตาราง 9 ช่อง ในนักกีฬาเทเบิลเทนนิส. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณทิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2548). ความเป็นมาของตารางเก้าช่องกับการพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธัชพนธ์ สรภูมิ และเหมมิญญ์ ธนปัทม์มีมณี. (2562). การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานประกอบแนวคิดของ
ซิมพ์ซัน เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวัดมัลติมิเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13 (2), 149-160.
นฤเดช วีระสุข (2563) ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักศึกษาชมรมกีฬาดาบไทย สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี.
เนตรทราย พัฒนพงษ์. (2560). ผลการใช้โปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวในการยิงประตูฟุตบอลโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาด้านทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พรชัย ผาดไธสง. (2560). การพัฒนาหลักสูตร. นครราชสีมา : โฟโต้บุ๊คดอทเน็ต.
ภาณุมาศ หอมกลิ่น. (2559). การพัฒนาทักษะพื้นฐานการเล่นฟุตบอลโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 บูรณาการงานวิจัยใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน. วิทยาลัยนครราชสีมา.
โรงเรียนร่องคำ. (2565). คู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 2565. งานแผนงาน โรงเรียนร่องคำอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์.
วีรวัฒน์ มะโนวรรณ. (2550). ผลของการฝึกรูปแบบการก้าวเท้าเก้าจัตุรัส และรูปแบบการเก้าเท้าสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มีต่อความสามารถของนักกีฬาเทเบิลเทนนิส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Simpson, E. J. (1972). The classification of educational objectives in the psychomotor domain. Washington DC : Gryphon House.
Worasak Pianchob. (1980). Principles and Methods of Teaching Physical Education. Bangkok : Thai Wattana Panich.