การบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในสถานศึกษา ผลการศึกษาพบว่า เป็นกระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และบุคคลอื่นมากยิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง จัดการกับชีวิตของตนเองได้อย่างเหมาะสม และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การแนะแนวมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่นเป็นวัยที่มีพัฒนาการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพร้อมกันทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และกระบวนการคิด ดังนั้น ในสถานศึกษาทุกแห่งต้องให้ความสำคัญกับการบริการแนะแนวในสถานศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถพัฒนาตนให้เจริญเติบโตอย่างสมวัย และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุข หน้าที่การบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในสถานศึกษาที่จะเอื้ออำนวยให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตดังกล่าวข้างต้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรต่าง ๆ ในสถานศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจในความหมายการแนะแนว ความสำคัญของการแนะแนว จุดมุ่งหมายของการแนะแนว ปรัชญาการแนะแนว หลักการให้บริการ ขอบข่ายการให้บริการ และกระบวนการให้บริการแนะแนวในสถานศึกษาในการวางแผนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนอย่างเต็มกำลังความสามารถ การบริการแนะแนวที่มีประสิทธิภาพจะช่วยส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขพฤติกรรมได้เป็นอย่างดี
Article Details
References
กฤตวรรณ คำสม. (2559). การแนะแนวเบื้องต้น. อุดรธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2558). การแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียน. สงขลา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พนม ลิ้มอารีย์. (2548). การแนะแนวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
สุนิสา วงศ์อารีย์. (2559). หลักการแนะแนว. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
_______. (2562). จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา. อุดรธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สอนประจันทร์ เสียงเย็น. (2559). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู. อุดรธานี : คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
_______. (2559). หลักการบริการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสำหรับครูและผู้บริหารการศึกษา กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อัชรา เอิบสุขสิริ. (2556). จิตวิทยาสาหรับครู. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Miller, Carroll H. (1976). Foundation of Guidance. New York : Harper and Row Publishers.
Sucaromana, A. (2016). Resilience Quotient : RQ. Journal of MCU Peace Studies, 4 (1), 209-220.