การบริหารสถานศึกษาต้นแบบคุณธรรมอาชีวศึกษา : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

พระมหาไชยถนอม หาระสาย
สุภาวดี ภิรมย์รัตน์
สิรินธร สินจินดาวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและถอดบทเรียนการบริหารจัดการสถานศึกษาต้นแบบคุณธรรม : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาประสิทธิผลที่เกิดขึ้นจากการเป็นสถานศึกษาต้นแบบคุณธรรม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case Study) โดยเลือกกรณีศึกษาแบบกำหนดเกณฑ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหาร ครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ ตัวผู้วิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกภาคสนาม แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการสัมภาษณ์ และรายงานการวิจัยแบบพรรณนา (Description) และพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description)  


ผลการวิจัยพบว่า


  1. บทเรียนการบริหารโครงการสถานศึกษาต้นแบบคุณธรรม : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคโพธารามจังหวัดราชบุรี 3 ด้าน ที่ทำให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จ ประกอบด้วย 1) มีการวางแผน (Planning) การดำเนินงานสถานศึกษาคุณธรรมอย่างเป็นระบบ ได้แก่ (1) การกำหนดผลงานที่ต้องการ (Output) (2) การกำหนดเค้าโครงการทำงาน (3) การกำหนดกิจกรรม (Activity) และผู้รับผิดชอบ (4) การคิดงบประมาณ 2) การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementing) ได้แก่ (1) การมอบหมายการปฏิบัติแก่ผู้รับผิดชอบ (2) การเตรียมการปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติหรือดำเนินการ (3) การติดตาม กำกับ ดูแล และช่วยเหลือให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน 3) การติดตาม กำกับ และประเมินผล (Evaluating) ได้แก่ (1) การตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผน (2) การตรวจสอบผลงานว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้ (3) การพิจารณาปัญหาและอุปสรรคที่ต้องการ รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้สามารถนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้จริง และ (4) รายงานผลการปฏิบัติงาน  

  2. ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นจากการเป็นสถานศึกษาต้นแบบคุณธรรม 2.1 ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นต่อโรงเรียน ได้แก่  1) ด้านวินัยเพิ่มขึ้น 2) มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองมากขึ้น 3) มีจิตอาสาช่วยงานโรงเรียนและชุมชนมากขึ้น 4) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง 5) พฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น 6) ผลการสอบวีเน็ตดีขึ้นทั้งโรงเรียน 2.2 ประสิทธิผลที่มีต่อชุมชน ได้แก่ 1) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น 2) มีวินัยในตนเองและสังคมมากขึ้น 3) มีจิตอาสาช่วยงานสังคมมากขึ้น 4) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 5) ลดปัญหาอาชญากรรมในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. (2557). หนังสือโรงเรียนคุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม

มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2563). รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ธนวัน สายเนตร และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านคุณธรรมของนักเรียน

มัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7 (ฉบับเพิ่มเติม), 362-379.

พระครูปลัดวิสุทธิ์ นริสฺสโร (ขาวเกตุ) และ อุทัย สติมั่น. (2558). อาชีวศึกษากับการบูรณาการค่ายคุณธรรมเชิงพุทธ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2 (1), 81-89.

พระเรืองฤทธิ์ คิดข้างบน. (2558). คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษาโรงเรียนขยาย

โอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3 ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วิริยา ทัพวัฒนะ และคณะ. (2559). การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดพิจิตร. วารสารศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18 (2), 225-229.ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2559). คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัทสหมิตร พริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาคุณธรรมอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สมปอง ใจดีเฉย และคณะ. (2554). การสังเคราะห์องค์ความรู้กระบวนการสร้างโรงเรียนต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรม (บางมูลนากโมเดล). กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

New by, T. J., et al. (2000). Educational Technology for Teaching and Learning. 2nd edition.

Upper Saddle River, NJ : Merrill/Prentice-Hall.