การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง อาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง อาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล ให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนภาษาจีน เรื่อง อาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนภาษาจีน เรื่อง อาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่ม กระบวนการวิจัยนี้มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการนำเสนอเนื้อหา 2) ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติ 3) ขั้นการนำไปใช้ และ 4) ขั้นการประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล จำนวน 34 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีจับสลากซึ่งมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง อาหารและเครื่องดื่ม แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่ม แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ภาษาจีน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง อาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 23 (x̅= 22.23) คิดเป็นร้อยละ 74.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70
2. ความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาภาษาจีน เรื่อง อาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล พบว่ามี ค่าความก้าวหน้าทางการเรียนเท่ากับ 57 (< > = 0.57) อยู่ในระดับปานกลาง หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมลที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง อาหารและเครื่องดื่ม โดยใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่ม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.33, S.D. = 0.67)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ขวัญหทัย ทองวิวัฒน์. (2557). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการพูดเป็นคู่ (Rally Robin) เพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสําหรับการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธนภณ ไชยชนะ. (2557). การพัฒนาการเขียนพินอิน (สระลดรูป) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่ : โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ยุภาพร นอกเมือง. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ร่วมใจ. วารสารครุศาสตร์สาร, 14 (2), 61-70.
โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล. (2565). เอกสารงานวิชาการด้านคะแนนวัดผลโรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล.
กรุงเทพฯ : โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล.
วิภาวรรณ สุนทรจามร. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย สังเคราะห์ภาพรวม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล. (2565). เอกสารงานวิชาการด้านคะแนนวัดผลโรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล. กรุงเทพฯ : โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล.
สถานเอกอัครราชฑูต ณ. กรุงปักกิ่ง. (2556). ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจจีน. [Online]. Available : https://thaiembbeij.org/th/republic-of-china/investment/. [2566, กันยายน 1].
สุริยะ หาญพิชัย. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มในรายวิชาสถานการณ์โลกปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อดิเรก นวลศรี. (2558). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนด้วยวิธีตอบสนองด้วยท่าทาง TPR ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7 (1), 149-158.
Bernard Burnes. (2547) .Kurt Lewin and the Planned Approach to Change: A Re-appraisal. Journal of management Studies, 41 (6), 977-1002.
Penfield, L.W., and Lamar. (1959). Speech and Brain–Mechanisms, Princeton University Press.
Su fen Lin. (2018) The Effect of Group Work on English Vocabulary Learning.
Journal of Education and Learning, 7 (4), 163-178.
Zheng AiPing. (2560). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานีตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.