การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวัดและประเมินผลด้านทักษะการคิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลด้านทักษะการคิดก่อนและหลังการฝึกอบรม 2) ศึกษาพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครูระหว่างการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการวัดและประเมินผลของครูหลังการจัดการเรียนรู้ ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 225 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนนทบุรี ที่ปฏิบัติการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการเลือกแบบอาสาสมัคร (Volunteers Sampling) จำนวน 8 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบสังเกตพฤติกรรมการวัดและประเมินผลของครู และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1) ครูมีความรู้ความเข้าใจหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) ครูมีพฤติกรรมการวัดและประเมินผลระหว่างการจัดการเรียนรู้ในระดับมาก (x̅= 7.10, S.D. = 1.20)
3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการวัดและประเมินผลของครูหลังการจัดการเรียนรู้โดยการลงข้อสรุปจากการตอบคำถามสะท้อนการคิดอยู่ในระดับปานกลาง
Article Details
References
วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจิตร อาวะกุล. (2537). การฝึกอบรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2557, กุมภาพันธ์ 6). “ทำไมเขาที่หนึ่งเราเกือบโหล่?” ใน ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. [Online]. Available: http://www.prachachat.net/news. [2566, ธันวาคม 24].
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์.
กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
_______. (2566, ธันวาคม 6). “การแถลงข่าวผลประเมิน PISA 2022” วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม จันทรเกษม อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2557, ตุลาคม 16). “การประเมินการเรียนรู้ยุค Post-Modernism”. บรรยายในการประชุมนานาชาติและการประชุมเชิงปฏิบัติการ งานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 7 ณ อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี.
สายยนต์ จ้อยนุแสง. (2552). การพัฒนาชุดฝึกอบรมครู เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Douglas Fisher and Nancy Frey. (2011). The Purposeful Classroom: How to structure Lessons with
Learning Goals in Mind. Alexandria, VA. : ASCD.
Joyce, R. B., and Shower, B. (1988). Student Achievement Though Staff Development. New York : Longman.
Rubenfeld, M. G. and Scheffer, B. K. (1999). Critical Thinking in Nursing: An Interactive Approach. 2nd ed. Philadelphia : Lippincott.
Smithikrai, C. (2013). Training of Personnel in the Organization. 8th ed. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (IN Thai).