แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 306 คน คำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดโรงเรียน จำนวน 130 โรงเรียน โดยกำหนดให้ร้อยละของผู้บริหารสถานศึกษาต่อครู 30 : 70 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.980 แบบสอบถามสภาพพึงประสงค์ที่มีค่าเชื่อมั่น 0.975 และแบบการประชุมสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้การเขียนบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
(1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก และมากที่สุดตามลำดับ
(2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ลำดับแรก คือ ส่งเสริมให้กล้าเสี่ยงลำดับที่สอง คือ ให้พลังอำนาจครูและปลูกฝังทักษะภาวะผู้นำและลำดับที่สาม คือ การเข้าใจความสำคัญของการสร้างชุมชน
(3) แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ทั้ง 3 คุณลักษณะมีขั้นตอนและกระบวนการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ครบถ้วน
คำสำคัญ: แนวทาง การพัฒนา คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา
Article Details
References
กุลจิรา รักษนคร. (2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. Journal of Modern Learning Development, 5 (3), 328-344.
กุลชลี จงเจริญ. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, 12 (1), 189.
เฉลิมเกียรติ สุ่มเงิน. (2562). การศึกษาคุณลักษณะและแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 วันที่ 28 กรกฎาคม 2567. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
นุชนรา รัตนศิระประภา. (2557). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7 (3), 507-528.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ยุพิน ภูมิช่วง. (2562). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รณกร ไข่นาค และคณะ. (2562). แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ตามหลักพุทธบริหารการศึกษาระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 6 (1), 133-144.
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา (Human Resource Management in Education). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สดุดี จีระออน. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคประเทศไทย 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2566-2570). [Online]. Available :
http://lopburi2.go.th/web/%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%b1
%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a8
%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2-%e0%b8%9e-%e0%b8%a8-2566-
/ [2566, January 9].
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุมนรัตน์ อัศตรกุล. (2557). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่การเป็นประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อนวัช รังสรรค์ และพนมพร จันทรปัญญา. (2561). กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น,12 (2), 115-130.
Bennis,W. (2000). Creative leadership. (Abi). Bangkok : Chulalongkorn University.
Hoy, W.K., and Miskel, C.G. (1991). Educational administration : Theory research and practice. 4thed. New York : Harper Collins.
Lathan, Joseph, (2021). 10 Traits of successful school leaders. [Online]. Available : https://onlinedegrees.sandiego.edu/effective-educational-leadership/.[2022, August 10].
Pfeffer, J., and Sutton, R.I. (2000). The knowing-doing gap. Boston, MA : Harvard Business School Press.
Wahlstrom, K, and Louis, K.S.L. (2008). Learning from leadership : Investigating the Links to Improved Student Learning. Final Report of Research to the Wallace Foundation. Minneapolis : University of Minnesota.
Yamane, T. (1973). Statistic : An introductory analysis. New York : Harper & Row