ภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นภัทร ชัยทวีพรภัทร์
กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษานิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษากับการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร จำนวน 194 คน จากกลุ่มประชากรทั้งหมด 391 คน เครื่องมือที่ใช้
เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.859 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหาร โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก
2) การนิเทศภายในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษากับการนิเทศภายในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงเท่ากับ 0.923 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร จากตัวแปรทั้งหมด 4 ตัวแปร ตัวแปรทั้ง 4 ตัว ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) การสร้างแรงบันดาลใจร้อยละ 77.10 2) การค านึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ร้อยละ 81.80 3) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ร้อยละ 84.30
และ 4) การกระตุ้นทางปัญญา ร้อยละ 85.30 ตามลำดับ โดยร่วมกันพยากรณ์การนิเทศภายในของสถานศึกษาได้ร้อยละ 85.30 (R2 = 0.853)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว

_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชำนาญ คำปัญโญสีโนทัย. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน : พหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัฐพร วัตถุ. (2560). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งศิริ นุ่มศิริ. (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตส่งเสริมสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพ : ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนุพันธ์ พูลเพิ่ม. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5 (1), 74-89.

Bass, B. M., and Riggio, R. E. (2006). Transformational Leadership. New York : Psychology.

Bass, B. M. and Avolio. (1994). Transformational leadership: Industrial, military, and education. New Jersey : Lawrence Erlbaum.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York : Harper and Row.

Gardiner. (2006). Urban School Principals and Their Role as Multicultural Leader. Urban Education, 41 (6), 560-584.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607–608.

Oke, Adegoke., et al. (2009). "The Influence of Leadership on Innovation Processes and Activities".Organizational Dynanics, 38 (1), 64-72.