การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าม่วง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กระบวนการวิจัยนี้มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการทบทวนความรู้เดิม 2) ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ 3) ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 4) ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม 5) ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ 6) ขั้นการแสดงผลงาน และ 7) ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าม่วง จำนวน 31 คน และในการวิจัยครั้งนี้ ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น แผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านท่าม่วง พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 23 (= 22.23) คิดเป็นร้อยละ 74.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
- ความก้าวหน้าทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านท่าม่วง พบว่า มีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนโดยใช้วิธี Normalized Gain 57 (< > = 0.57) อยู่ในระดับปานกลาง หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าม่วง ที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
งามตา ทุ่งยอ และคณะ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง อุปสงค์และอุปทาน โดยใช้หลักการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ
และนานาชาติ ครั้งที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 (หน้า 2085-2096) สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL).วารสารวิชาการ กรมวิชาการ, 2 (5), 4-13.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยายสาส์น.
ไพรจิตร บ้านเหล่า. (2560). การพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรายวิชา ส 32103 สังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง สถาบันทางสังคม โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model).
โรงเรียนโคกโพธิ์ไชยศึกษา จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25.
สำลี รักสุทธี. (2554). เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนและเขียนแผนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.
กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.โรงเรียนบ้านท่าม่วง. (2563). การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2561-2565. สุราษฎร์ธานี : โรงเรียนบ้านท่าม่วง.
เรณู ครึกครื้น. (2563). ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม (สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์) โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยรัาชภฏเพชรบุรี, 10 (3), 45-55.
วราภรณ์ ประจงเศรษฐ์ และคณะ. (2562) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาโมเดลกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์, 2 (1), 23-35.วรารัตน์ กลมคุณากร และลัดดา 9.ศิลาน้อย. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาป.ที่ 5 โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7 (2), 148-156.
อรทัย มูลคํา. (2553). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.เอธัส ศิลารักษ์ และจิฑาภรณ์ อินทร์แย้ม. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิคซิปปา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3 (3), 57-67.
Jason A. Orozco and Rosanelia T. Yangco. (2016). Problem-Based Learning : Effects on Critical and Creative Thinking Skills in Biology. Philippine Normal University, The Asian Journal of BiologyEducation, 9, 2-10.