ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

วรรณนิศา นนทศักดิ์
สุทธิพงศ์ บุญผดุง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 1,899 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี จำนวน 320 คน โดยใช้ขนาดอำเภอเป็นชั้นในการแบ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านวิสัยทัศน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านความรู้เท่าทันดิจิทัลเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 


2) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการแก้ไขปัญหาภายในสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านเจตคติทางบวก 


3) ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ด้านมีส่วนร่วมในการทำงาน () ด้านคุณธรรม จริยธรรม () ด้านทักษะการสื่อสาร () และด้านวิสัยทัศน์ () โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัว มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาร่วมกัน     มีค่าคงที่ของการพยากรณ์เท่ากับ .689   


4) ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี พบว่า ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ดี มี 4 ตัวแปร คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะการสื่อสาร และด้านวิสัยทัศน์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีได้ร้อยละ 59.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมของตัวแปรพยากรณ์ ทั้งตัวแปรกับประสิทธิผลของสถานศึกษา มีค่าเท่ากับ .769 ค่าความคลาดเคลื่อน เนื่องจากการพยากรณ์เท่ากับ .332 มีค่าคงที่ของการพยากรณ์เท่ากับ .689 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ คือ  = .689 + .358() + .300() + .143() + .134()

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพร พรงาม. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จินางค์กูร โรจนนันต์. (2560). กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). [Online]. Available : https://www.nakhonpathom.go.th/files/com_news_report/2017-10_1dbcea39efee80e.pdf. [2023, November 15].

ซอฟี ราเซะ. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ในอำเภอทุ่งยางแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

นันท์นภัส สุทธิการ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

นิศรา มูลวรรณ. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

รัตนา เหลืองาม. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

วีรชาติ กาญจนกัณโห. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

วรรณภา ไทยประยูร. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัคพงศ์ สุขมาตย์ และคณะ. (2560). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ภายใต้กรอบการศึกษาประเทศไทย 4.0. Journal of Industrial Education, 16 (2), 1-7.

อมรา พิมพ์สวัสดิ์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566–2570). [Online]. Available : https://main.spmnonthaburi.go.th. [2023, October 8].

Krejcie, R.V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activity. Journal for Education and Psychological Management, 30 (3), 607-610.