การเรียนรู้เรื่องการชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟเป็นฐานร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ในเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระยะแรกเริ่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟเป็นฐาน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสากล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในระยะแรกเริ่ม เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ออกแบบการวิจัยตามกระบวนการ PAOR ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติ (Action) 3) การสังเกต (Observation) และ 4) สะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในระยะแรกเริ่ม ศึกษาอยู่ในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด จำนวน 5 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selecting) ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 1 คน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 3 คน และเด็กออทิสติก จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์เรื่องการชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จำนวน 3 แผน (2) แบบทดสอบการชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในระยะแรกเริ่ม มีพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ระหว่างการได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟเป็นฐาน ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล แผนที่ 1 และ 2 นักเรียนทั้ง 5 คน มีพัฒนาการเรียนรู้อยู่ในระดับดีเยี่ยมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง4.0–4.4 ส่วนแผนที่ 3 มีพัฒนาการเรียนรู้อยู่ในระดับดีเยี่ยม 4 คน และดีมาก 1 คน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.4–4.2
- เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในระยะแรกเริ่ม มีพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หลังการได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟเป็นฐาน ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ทั้ง3 แผนเด็กทั้ง 5 คน สามารถชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทุกคน อยู่ในระดับร้อยละ 100
Article Details
References
กรองทอง จุลิรัชนีกร. (2556). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2562). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษพุทธศักราช 2562. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
เกยูร วงศ์ก้อม. (2564). การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระยะแรกเริ่ม. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 17 (2), 49-63.
จริยา ทะรักษา. (2558). เด็กพิเศษ. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 49, 22-31.
จีรลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2559). ทำอย่างไรเมื่อได้สอนเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). ออทิสติก [Online]. Available : https://www.happyhomeclinic.com/au21-autism-faq.html. [2567, เมษายน 7].
บุษบง ตันติวงศ์. (2552). การศึกษาวอลดอร์ฟ : ปรัชญา หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552 (2552, มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 80 ง. 45-47.
ปริญญา สิริอัตตะกุล และวิภาสิริ บุญชูช่วย. (2562). ความสามารถทางการคิดแบบ Theory of Mind ของเด็กหูหนวกในโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม. วารสารจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 (1), 110-122.
พิมพ์ชนก หมอกฤทธิ์ และภัทรพร แจ่มใส. (2564). การจัดการเรียนรู้ที่เป็นสากลสำหรับห้องเรียนรวมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 10 (1), 79-92.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2541, 5 กุมภาพันธ์) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 28 ก. 1-13.
ภาคีเครือข่ายการศึกษาเพื่อการเยียวยา. (2564). โลกพิเศษเพราะคนพิเศษ. กรุงเทพฯ : บริษัท กู๊ดเฮด พริ้นติ้ง แอนด์แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.
โรงเรียนไตรพัฒน์. (2561). “ก้าวแรก” Waldorf Education. ปทุมธานี : Druckerei Ideal Ltd.,Part.
วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี. (2563). จิตวิทยาเด็กพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วสันต์ วรรณรัตน์ และคณะ. (2565). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับเด็กที่มีความหลากหลายในชั้นเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตามแนวการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7 (4), 298-313.
วิชาญ ใจเถิง และคณะ. (2557) รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามแนววิถีพุทธและวอลดอร์ฟสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 20 (2), 1-10.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2566). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (Theories and Techniques in Behavior Modification). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา 2558. กรุงเทพฯ : กองธรรมศาสตร์และการเมือง.
(2564). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับบราชบัณฑิตสภา 2564. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเรียนรวม สำหรับเด็กพิการและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2561). ชุดเอกสารศึกษาด้วยตนเอง วิชาความรู้พื้นฐานด้านการศึกษาสำหรับคนพิการหรือผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เล่มที่ 8 การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.(ม.ป.ป.). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาบุคคล (Individualized Education Program : IEP). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุการต์พิชา ปิยะธรรมวรากุล. (2562). เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อภิสิรี จรัลชวนะเพท. (2563). บทเรียนนอกบ้านบทที่หนึ่ง เติบโตด้วยธรรมชาติอย่างธรรมชาติ.กรุงเทพฯ : SOOK Publishing.
อัญธิฌา สุดละมัย และวรางคณา โสมะนันทน์. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นเรียนรวม ด้วยการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล.วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 12 (2), 13-28.
Center for Applied Special Technology. (2018). Universal Design for Learning Guidelines version 2.2. [Online]. Available : http://udlguidelines.cast.org. [2020, April 1].
National Center on Universal Design for Learning. (2010). UDL guidelines [Online]. Available : http://www.udlcenter.org/aboutudl/udlguidelines. [2020, April 1].
Rao, K., and Meo, G. (2016). Using Universal Design for Learning to Design Standards-Based Lessons. SAGE Open, 6 (4), 1-12. https://doi:10.1177/2158244016680688.