คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาล ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พรทิพย์ ทัพวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์


การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 9 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.21) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสิ่งแวดล้อม (gif.latex?\bar{x}= 3.28) ด้านความรู้สึกพอใจในการดำรงชีวิต (gif.latex?\bar{x}= 3.25) ด้านเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{x}= 3.21) ด้านสังคม (gif.latex?\bar{x}= 3.15) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านสภาวะจิตใจ (gif.latex?\bar{x}= 3.14)


2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้สูงอายุที่มี เพศ อายุ สถานสภาพและลักษณะการอยู่อาศัย ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้


3) ปัญหา อุปสรรคของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพเสื่อม ขาดความอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงพอ และความพอเพียง รวมถึงความเหมาะสมด้านจำนวนเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุยังรู้สึกว่าไม่เพียงพอ


ข้อเสนอแนะของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ควรจัดตั้งคลินิกสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อดูแล รักษาผู้สูงอายุโดยเริ่มที่แผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์ ควรมีการจัดอบรมฝึกอาชีพที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมนันทนาการ เพื่อสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุ โดยเน้นควรมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้สูงอายุ เยาวชน และคนในชุมชน และที่สำคัญควรต้องมีการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพให้พอเพียงกับสถานการณ์ปัจจุบันจากสภาพทางเศรษฐกิจที่มีค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กองวางแผนทรัพยากรมนุษย์. (2552). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย ปี 2543-2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (อัดสำเนา).

2. กองวิชาการและแผนงาน. (2557). ข้อมูลทั่วไปของเทศบาลเมืองชุมแสง. นครสวรรค์: เทศบาลเมืองชุมแสง. (อัดสำเนา).

3. กองสวัสดิการสังคม. (2557). สถิติจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ พ.ศ. 2557. นครสวรรค์: เทศบาลเมืองชุมแสง. (อัดสำเนา).

4. ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิต.

5. ธาริน สุขอนันต์ และคณะ. (2554). “คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี”. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร: จังหวัดชลบุรี.

6. ภูริชญา เทพศิริ. (2553). “คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

7. วลัยพร เอกนัยน์ และคณะ. (2554). “บทบาทของเทศบาลตำบลบางยี่รงค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ.

8. สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ. (2546). พระราชบัญญัติการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

9. อารดา ธีระเกียรติกำจร. (2554). “คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์รัฐเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

10. Li. B. C. (1975). Quality – of - life: Concept. measure and result. The American Journal of Economic and Sociology 34: 80.

11. UNESCO. (1980). Evaluating the Quality of life in Belgium. Social Indicators Research 8: 55.