การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติดในชุมชนมะพร้าวคู่ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บุณยาพร เอื้อทัดทาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติดในชุมชนมะพร้าวคู่ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร และ 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติดในชุมชนมะพร้ามคู่ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนมะพร้าวคู่ จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกันตนเองให้พ้นจากยาเสพติด ด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติดในชุมชน ด้านการร่วมในที่ประชุมเพื่อปรึกษาหารือ ด้านการร่วมตัดสินใจในแนวทางเหมาะสม ด้านการเข้าร่วมในการปฏิบัติงานตามโครงการ ด้านการเข้าร่วมในการตรวจตราดูแลและประเมินผลที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการศึกษา พบว่า


  1. ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติดในชุมชนมะพร้าวคู่ แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (CodeCogsEqn2.gif= 2.95, S.D = 0.75) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ ด้านด้านการป้องกันตนเองให้พ้นจากยาเสพติด อยู่ในระดับมาก (CodeCogsEqn3.gif= 3.73, S.D = 0.59) ด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติดในชุมชน อยู่ในระดับมาก (CodeCogsEqn4.gif=3.61, S.D = 0.78) และด้านการเข้าร่วมในการปฏิบัติงานตามโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง (CodeCogsEqn5.gif=2.76, S.D = 0.89)

  2. เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างตัวแปรจำนวน 6 ตัวแปร พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีค่าแตกต่างจากศูนย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) มีจำนวน 15 คู่ มีค่าพิสัยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในช่วง .193-1.00 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรการมีส่วนร่วมกับการป้องกันยาเสพติด พบว่า ทุกตัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และเป็นความสัมพันธ์ทางบวก แสดงว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรทุกตัวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุดคือการตัดสินใจและการตรวจตรา (r = .906) แสดงว่าเมื่อประชาชนในชุมชนมะพร้าวคู่ มีการตัดสินใจเพิ่มขึ้นก็จะมีการตรวจตราเพิ่มขึ้นด้วย และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์รองลงมาคือการประชุมและตัดสินใจโดยมีขนาดความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง (r=.863) แสดงว่าเมื่อประชาชนในชุมชนมะพร้าวคู่ มีการประชุมเพิ่มขึ้นและการตัดสินใจเพิ่มขึ้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วรเมธ เหรียญไกร. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาเสพติดในพื้นที่อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. (สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหากุฎราชวิทยาลัย.

อธิพงษ์ ตันศิริ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ศึกษากรณีอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.