ผู้หญิงล้านนากับการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ภักดีกุล รัตนา ภาควิชาพื้นฐานและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผู้หญิง, ล้านนา, การศึกษา, โรงเรียน, มิชชันนารี, สยาม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และ การปรับเปลี่ยนทางการศึกษาของผู้หญิงในสังคมล้านนาตั้งแต่ยุคจารีตจนถึง ยุคสร้างชาติสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยผลของการศึกษาพบว่าการได้รับ การศึกษาของผู้หญิงล้านนามีความเกี่ยวข้องและเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท ที่สอดคล้องและแวดล้อมอยู่ในแต่ละช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ โดยช่วงเวลา ในอดีตอาจเกิดความเข้าใจว่าผู้หญิงล้านนามีโอกาสทางการศึกษาค่อนข้างน้อย เพราะขนบประเพณีและระบบการศึกษาแบบจารีตที่จำกัดพื้นที่การศึกษาเฉพาะ ในวัด จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ สังคมล้านนาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางบริบท อย่างมากจากความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมกับ อำนาจภายนอกที่เข้ามา การเข้ามาของกลุ่มมิชชันนารีตะวันตก ผู้หญิงล้านนา ได้รับแนวคิดทางการศึกษาและโลกทัศน์แบบใหม่ผ่านการศึกษาในโรงเรียน ของมิชชันนารีที่มีแนวคิดและอุดมการณ์อย่างตะวันตก และรัฐสยามที่เข้ามา พร้อมกับการจัดการปกครองหัวเมืองประเทศราชล้านนาภายใต้แนวคิดรัฐชาติ สมัยใหม่และการเป็นพลเมืองไทย การจัดการศึกษาในล้านนาจึงเป็นการต่อรอง อุดมการณ์ที่เกิดขึ้นจากการนำนโยบายจากส่วนกลางมาปรับใช้ ซึ่งท้ายที่สุด วัฒนธรรมการศึกษาแบบสยามก็ได้เข้ามาแทนที่อย่างเต็มรูปแบบและส่งผลต่อ การจัดการศึกษาในท้องถิ่นและต่อรูปแบบการศึกษาของผู้หญิงเหนือ

References

คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเถลิงราชสมบัติครบ ๑๐๐ ปีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (๒๕๑๑). เอกสารเรื่องการจัดการศึกษาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

คณิเทพ ปิตุภูมินาค และคณะ. (๒๕๕๗). “การขับขานวรรณกรรมล้านนา : จ๊อย”.วารสารวิจิตรศิลป์. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม.

จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙. (๒๕๐๗). พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ม.ร.ว.ทรงพันธุ์ ศุขสวัสดิ์ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗.

จดหมายเหตุเรื่องทัพเชียงตุง. (๒๔๕๙). พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร โปรดให้พิมพ์เปนครั้งแรกในงานศพพลเรือตรี พระยานาวาพลพยุหรักษ์ (ม.ว.พิณ สนิทวงศ์ ณกรุงเทพ). พระนคร : โรงพิมพ์ไทย.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (๒๕๓๓). การปฏิวัติสยาม พ.ศ.๒๔๗๕. กรุงเทพฯ :มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บุญเสริม ศาสตราภัย. (๒๕๒๓). ศรีโหม้ : คนเชียงใหม่คนแรกที่ไปอเมริกา. เชียงใหม่ :โรงพิมพ์ปอง.

ปราณี ณ พัทลุง. (๒๕๓๘). เพ็ชรลานนา เล่ม ๒. เชียงใหม่ : ผู้จัดการภาคเหนือ.

พระครูอดุลยสีลกิตติ์. (๒๕๔๙). “การศึกษาของสามเณรและพระภิกษุหลงการบวช”. ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในล้านนา ฉบับ ๖๓๕ ปีพระบรมธาตุดอยสุเทพ.เชียงใหม่ : วัดพระธาตุดอยสุเทพ และมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ.

เพิ่ม (หลวงทวยหาญรักษา), ร.อ. (๒๕๑๕). รายงานการปราบเงี้ยว พ.ศ.๒๔๔๕.อนุสรณ์อำมาตย์ตรีหลวงประกอบวรรณกิจ. กรุงเทพฯ : เสนาการพิมพ์.

เฟลตัส, ยอร์ช เฮาส์ เขียน. กองคริสเตียนศึกษา แปล. (๒๕๓๐). หมอเฮาส์ในสมัยรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ : กองคริสเตียนศึกษา สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย.

แมคกิลวารี, แดเนียล เขียน. จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล แปล. (๒๕๓๗). กึ่งศตวรรษในหมู่คนไทยและคนลาว : อัตชีวประวัติของศาสนาจารย์แดเนียล แมคกิลวารี ดี ดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

รัตนาภรณ์ เศรษฐกุล. (๑๙๙๖). “คริสตศาสนาโปรแตสแตนต์กับเศรษฐกิจและการเมืองล้านนา.” คริสตศาสนากับขนบประเพณีและวัฒนธรรมล้านนา.เชียงใหม่ : คณะศาสนศาสตร์แมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ.

วิจิตรวาทการ, หลวง. (๒๕๓๑). ที่ระลึกนิทรรศการผลงาน ๙๐ ปีของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๑. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (๒๕๔๙). คลองตัดคำพระพุทธโฆสาจารย์. กรุงเทพฯ :ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

ศักดิ์ รัตนชัย. (๒๕๓๔). ประวัติศาสตร์ศึกษา : ยุทธเวหาลำปาง. ลำปาง : ลำปางการพิมพ์.

สมบูรณ์ สุวรรณอัตถ์. (๒๕๒๒). “อมตะชีวิตและผลงานของอาจารย์ศิวิลัย สิงหเนตร ผู้มีลูกศิษย์ลูกหานางพยาบาลทั่วโลก.” พ่อเลี้ยงคอรท์แห่งเชียงใหม่. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือก.

แฮริส, วิลเลียม เขียน. หมวก ไชยลังการณ์ แปล. (๒๕๒๙). The Prince Royal’s College ๘๐ ปี ๑๙๐๖-๑๙๘๖. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือก.

กฤษณา เจริญวงศ์. (๒๕๒๗). “บทบาทของมิชชันนารีอเมริกัน : การศึกษาในหัวเมืองล้านนา.” ล้านนากับการศึกษาแนวใหม่. หนังสือที่ระลึกในโอกาสเฉลิมฉลอง ๖๐ ปีวิทยาลัยครูเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัทนวกมล จำกัด.

จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์.(๒๕๓๖). “นโยบายวัฒนธรรมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม : ลัทธิชาตินิยมกับผลกระทบทางสุนทรียทัศน์.” สัมมนาเรื่อง จอมพล ป. พิบูลสงครามกับการเมืองไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชระ สินธุประมา. (๑๙๙๖). “คริสตศาสนาโปรแตสแตนต์กับการศึกษาและวัฒนธรรมล้านนา”. คริสตศาสนากับขนบประเพณีและวัฒนธรรมล้านนา.เชียงใหม่ : คณะศาสนศาสตร์แมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ.

วัชระ สินธุประมา. (๑๙๙๐). “ภาษาที่ใช้ในการสอนและการสอนภาษาในโรงเรียนมิชชันนารีภาคเหนือ นับตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง.” ศาสนาคริสต์-มิชชันนารี-สังคมไทย รวมบทความชุดที่ ๑. เฮอร์เบิท อาร์ สวอนสัน และประสิทธิ์ พงศ์อุดม บรรณาธิการ. เชียงใหม่ : ฝ่ายประวัติศาสตร์ สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย.

วิบูลย์ ทานุชิต. (๒๕๒๗). “การปฏิรูปการศึกษาในล้านนา : สมัยเป็นมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ.๒๔๔๒-๒๔๗๖).” ล้านนากับการศึกษาแบบใหม่. หนังสือที่ระลึกในโอกาสเฉลิมฉลอง ๖๐ ปีวิทยาลัยครูเชียงใหม่. กรุงเทพฯ :บริษัทนวกมล จำกัด.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (๒๕๕๔). “๑๐๐ ปีแห่งสัญชาติไทย ตอนที่ ๑.” วิภาษา.ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๕ (๑๖ กันยายน - ๓๑ ตุลาคม).

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (๒๕๓๑). “การเกิดแนวคิด “หน้าที่พลเมือง” ในรัฐไทยสมัยใหม่.” รัฐศาสตร์สาร. ๑๔ : ๓ (กันยายน ๒๕๓๑-เมษายน ๒๕๓๒).

ยุพาภรณ์ แจ้งเจนกิจ. (๒๕๓๐). การศึกษาของสตรีไทย : ศึกษากรณีเฉพาะโรงเรียนราชินี พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๕๐๓. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ, MS-๗๙ สมุดหมายเหตุรายวันของ P.R.C.. เล่มที่ ๑. หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ. สิริกิตติสับบ์.วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๑๙๓๖ และวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๑๙๓๖.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ. พระยาไพศาลฯ ไปตรวจราชการมณฑลพายัพ สำเนาที่ ๔๓/๑๔. วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๕๖.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ, นางวาด วายวานนท์ ขอให้พิมพ์หลักสูตรโรงเรียนการเรือน ๓๕ ชุด สำเนาที่ ๔.๔/๓๑.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ, เอกสารรัชกาลที่ ๕. ศ. ๒/๑๐. พระบรมราโชบายการเล่าเรียนเมืองเชียงใหม่ สำเนาที่ ๒๔/๑๕๘๙. วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๔

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ, เอกสารรัชกาลที่ ๕. รายงานกรมหมื่นพิชิตปรีชากรเรื่องราชการมณฑลลาวเฉียง สำเนาที่ ๕๘/๘๘ วันที่ ๔ฯ ๖ คํ่า ปี ๑๒๔๖.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ, เอกสารรัชกาลที่ ๕. ให้นครเชียงใหม่ปกครองโดยสามัคคีแลให้ทางกรุงเทพฯ คอยสอดส่อง สำเนาที่๑.๒/๘.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ, ตอบคำถามคำว่าชาติ สำเนาที่ ๒.๕๖/๘๑.

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ, รายงานการตรวจราชการจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน มณฑลพายัพ กุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๔๗๒ ของจอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต สำเนาที่ อ. (๑๕).

Carr, Edward Hallet. (2017). What is History?, Palgrave Macmillan.

Dodd, W.C. (1923). The Tai Race : The Elder Brother of the Chinese,complied and edited by his wife. Iowa : The Tarch Press.

Swanson, Herbert R. (1988). “A New Generation : Missionary Education and Changes in Women’s Roles in Traditional Northern Thai Society.” Sojourn 3, 2 (August) : 187-206.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-09-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย