ชาวเชียงแสนย้ายแผ่นดิน

ผู้แต่ง

  • ภูเดช แสนสา นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ

เมืองเชียงแสนมีการสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นบนพื้นที่เมืองเก่าเมื่อ พ.ศ.๑๘๗๑ โดยพญาแสนภู กษัตริย์ล้านนาองค์ที่ ๓ ในราชวงศ์มังราย ด้วยชัยภูมิตั้งอยู่บริเวณชุมทางการคมนาคมสำคัญ จึงทำให้เมืองเชียงแสน เกิดศึกสงครามอยู่บ่อยครั้ง แต่ทว่าก็สามารถคงความเป็นบ้านเมืองสืบเนื่องมา จนกระทั่งใน พ.ศ.๒๓๔๗ ที่มีการกวาดต้อนครั้งใหญ่ มีผลทำให้เมืองเชียงแสน ร้าง ชาวเชียงแสนพร้อมหัวเมืองบริวารได้ถูกกวาดต้อนให้ออกจากบ้านเมือง จึงทำใหมี้กลุม่ คนที่เรียกตนเองและถูกคนกลุม่ อื่นเรียกว่า “ไทยวน” หรือ “ลาวยวน” ปรากฏตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ลักษณะของการเข้าไปตั้งถิ่นฐานในครั้งนี้ มีทั้งอพยพเดินทาง เข้าไปตั้งถิ่นฐานโดยตรงและมีการขยับขยายออกไปบุกเบิกพื้นที่ทำกินหรือ ทำหน้าที่ต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนรูปแบบการตั้งถิ่นฐานนั้น มีทั้งเข้าไป ตั้งถิ่นฐานขึ้นใหม่เป็นหมู่บ้านและเข้าไปตั้งถิ่นฐานร่วมกับชุมชนคนในพื้นเดิม โดยชาวเชียงแสนเหล่านี้บางส่วนภายหลังการรื้อฟื้น ตั้งเมืองเชียงแสนอีกครั้งใน พ.ศ.๒๔๒๓ ก็มีการเดินทางกลับมาอยู่บ้านเกิดเมืองนอนถิ่นเดิมอีกครั้ง เท่าที่ผู้เขียนสืบค้นได้ในขณะนี้มีชาวเชียงแสนและหัวเมืองบริวาร ได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานตามแหล่งต่างๆ ทั้งภายในประเทศไทยและประเทศลาว ในประเทศไทยมีทั้ง ๔ ภาค จำนวน ๑๖ จังหวัด ๕๕ อำเภอ ได้แก่ (๑) จังหวัด เชียงราย (๒) จังหวัดเชียงใหม่ (๓) จังหวัดลำพูน (๔) จังหวัดลำปาง (๕) จังหวัด แพร่ (๖) จังหวัดน่าน (๗) จังหวัดอุตรดิตถ์ (๘) จังหวัดพิษณุโลก (๙) จังหวัด กาญจนบุรี (๑๐) จังหวัดสระบุรี (๑๑) จังหวัดราชบุรี (๑๒) จังหวัดนครปฐม (๑๓) จังหวัดลพบุรี (๑๔) จังหวัดนครราชสีมา (๑๕) จังหวัดหนองคาย และ (๑๖) จังหวัดสงขลา ส่วนในประเทศลาว มีจำนวน ๓ แขวง ได้แก่ (๑) แขวง นครหลวงเวียงจันทน์ (๒) แขวงหลวงพระบาง และ (๓) แขวงไชยบุรี

References

หจช. ร.๕ รล.-พศ./๒๖ หนังสือราชการ ๑๒๔๕.

คร่าวเชียงแสนแตก ฉบับวัดม่วงตึ๊ด ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อักษรธรรมล้านนา รหัสไมโครฟิล์ม ๘๒ ๑๐๘ ๐๗ ๐๒๗-๐๒๗.

ตำนานวัดเวียงทองฝั่งหมิ่น เขียนโดยครูบาคันธา วัดโพธิสุนทร เมืองแพร่ อักษรธรรมล้านนา.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดปงสนุกเหนือ จังหวัดลำปาง, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดปงสนุกเหนือ จังหวัดลำปาง, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดปงสนุกเหนือ จังหวัดลำปาง พ.ศ.๒๓๖๒, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๒.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๔๘, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๕๓,อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๕๓, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๕๐, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๕๒, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๕๓, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๕๓, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๕๒, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๕๓, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๕๓, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพญาวัด จังหวัดน่าน พ.ศ.๒๓๗๙, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพระหลวง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๓๖๙, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๓.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพระหลวง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๓๙๐, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๓.

ภูเดช แสนสา (อ่าน). จารึกพระพุทธรูปไม้วัดพระหลวง จังหวัดแพร่ พ.ศ.๒๓๖๒, อักษรธรรมล้านนา. วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๓.

หจช. ร.๕ ม.๕๘/๑๘๗ รายงานราชการเมืองนครลำพูน (๒๖ พ.ย. ร.ศ.๑๑๒-๒๓ มี.ค.๑๒๑)

กรมศิลปากร. (๒๕๐๖). ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. พระนคร : เจริญธรรม.

จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ และคณะ. (๒๕๕๑). ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ ร.ศ.๑๒๐. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการพิมพ์.

นฤมล ธีรวัฒน์ (ชำระต้นฉบับ). (๒๕๓๙). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

ภูเดช แสนสา (ปริวรรต). (๒๕๕๖). คร่าว กฎหมาย จารีต ตำนาน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่ : แม็กซ์พริ้นติ้ง.

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. (๒๕๓๘). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่ : มิ่งเมือง.

สรัสวดี อ๋องสกุล (ปริวรรต). (๒๕๔๖). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

สำนักพิมพ์ก้าวหน้า. (๒๕๐๗). ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติเล่ม ๒ (ภาคที่ ๓, ๔ และ ๕). พระนคร : รุ่งเรืองรัตน์.

กรมการศาสนา. (๒๕๓๒). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๘. กรุงเทพฯ :การศาสนา.

ชรินทร์ แจ่มจิตต์ (บรรณาธิการ). (๒๕๓๒). นิตยสารไชยนารายณ์. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม.

บัวผิว วงศ์พระถาง และคณะ. (๒๕๓๗). เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ สมัย.แพร่ : แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์.

ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. (๒๕๓๘). เพ็ชร์ลานนา (๒). พิมพ์ครั้งที่ ๒. เชียงใหม่ :นอร์ทเทิร์นพริ้นติ้ง.

แผ่นประวัติวัดพะเยาว์ หมู่ที่ ๒ ตำบลศาลารีไทย อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี.

ฝอยทอง สมวถา (สมบัติ). (๒๕๔๖). เล่าขานตำนานเมืองแจ๋ม. เชียงใหม่ :นพบุรีการพิมพ์.

พระพนัส ทิพพเมธี และพระอุดร ชินวังโส. (๒๕๕๒). พิศาลนันทเวชนุสรณ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (๒๕๕๙). คนลำปาง ชาติพันธุ์ในชั้นประวัติศาสตร์.เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์.

ภูเดช แสนสา. (๒๕๕๔). ประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศ.เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.

ภูเดช แสนสา. (๒๕๕๕). ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.

ภูเดช แสนสา (บรรณาธิการ). (๒๕๕๘). วารสารพื้นบ้านล้านนา. เชียงใหม่ :แม็กซ์พริ้นติ้ง.

วิเชียร ยาใจ และดุสิต ยาใจ. บันทึกพ่อแสน ปันสุยะ (ถึงแก่กรรม พ.ศ.๒๕๔๘).บ้านนํ้าครกใหม่ ตำบลกองควาย อำเภอเมือง จังหวัดน่าน.

วิโรจน์ ประดิษฐ์. ชีวประวัติพ่อเฒ่าคัมภีระ ต้นตระกูล “คัมภิรานนท์”. เอกสารอัดสำเนา.

วุฒิรัตน์ พัฒนิบูลย์ (บรรณาธิการ). (๒๕๕๗). เล่าเรื่องเมืองลำปาง. ลำปาง :ม.ป.พ..

สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๕). คนดีเมืองเหนือ. กรุงเทพฯ : ป.พิศนาคะการพิมพ์.

สิลา วีระวงส์ (เรียบเรียง) สมหมาย เปรมจิตต์ (แปล). (๒๕๓๕). ประวัติศาสตร์ลาว.ลำพูน : เทคนิคการพิมพ์.

สำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (๒๕๔๙).แผนที่มรดกทางวัฒนธรรมนครลำปาง. กรุงเทพฯ : อี.ที.พับลิชชิ่ง.

สมหมาย เปรมจิต และปวงคำ ตุ้ยเขียว (ปริวรรต). (๒๕๑๘). รายชื่อวัดและนิกายสงฆ์โบราณในเชียงใหม่. เชียงใหม่ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แหล่งเรียนรู้บ้านดอนแก้ว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน.

อนุ เนินหาด, พ.ต.อ.. (๒๕๕๙). บ้านฮ่อม (สังคมเมืองเชียงใหม่ เล่ม ๕๓).เชียงใหม่ : วนิดาเพรส.

อนุ เนินหาด, พ.ต.อ.. (๒๕๕๕). ร้อยตระกูลที่ถนนช้างม่อย (สังคมเมืองเชียงใหม่ เล่ม ๓๑). เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.

อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพพ่อกองแก้ว แสงแก้ว. (๒๕๓๗). ลำปาง : ลำปางการพิมพ์.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายทิว วิชัยขัทคะ. (๒๕๓๙). เชียงใหม่ :ส.ทรัพย์การพิมพ์.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูเรือน สุธมฺโม (อุ่น เรือน) เจ้าอาวาสวัดป่าตันกุมเมือง ๑๕ มี.ค. ๒๕๓๐. (๒๕๓๐). ลำปาง : ลำปางการพิมพ์.

เอกสารกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวไทยวน จังหวัดราชบุรี ประวัติความเป็นมาประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อและการแต่งกาย.

เอกสารข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมบ้านนาขุนแสน หมู่ที่ ๔ ตำบลสวนผึ้งอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (๒๕๕๐). ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ (ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐). แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์.

พ่อหนานเงิน สุทธสังข์ อายุ ๖๒ ปี บ้านเลขที่ ๑๒๖/๔ หมู่ ๖ บ้านใหม่โพธิ์ทอง ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙.

นางวันมะนี พงสะหวัด บ้านปากแวด เมืองเชียงเงิน แขวงนครหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐.

นายวงศ์ดิลก กัจจายะนันท์ อายุ ๒๔ ปี บ้านเลขที่ ๒๘๓/๑ ซอย ๖/๑๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2018

ฉบับ

บท

บทความวิจัย