คัมภีร์พิณ ดนตรีแห่งลมปราณและจิตวิญญาณ

ผู้แต่ง

  • อัญชลี กิ๊บบินส์ นักวิชาการอิสระ

บทคัดย่อ

เนื้อหาในบทความชุดนี้ ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับเครื่องสาย พิณโบราณของจีนสองชนิด คือ พิณจีนโบราณเจ็ดสาย ที่ชื่อว่า กู่ฉิน ในภาษา แมนดาริน และ พิณจีนโบราณยี่สิบเอ็ดสาย ที่ชื่อว่า กู่เจิง ในภาษาแมนดาริน ซึ่งเนื้อหาในบทความชุดนี้เกิดจากการค้นคว้าวิจัยศึกษาวิเคราะห์จากตำราจีน โบราณที่ยังคงหลงเหลือและตำราภาษาต่างชาติที่มีการจดบันทึกอย่างมีหลักฐาน อ้างอิง ซึ่งมีอยู่ค่อนข้างจำกัด และจากประสบการณ์ตรงในการศึกษาคลุกคลี ด้านวัฒนธรรมดั้งเดิมวิถีเต๋าในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เป็นเวลากว่าเจ็ดปี อย่างไรก็ดีระหว่างการค้นคว้าศึกษาผู้เขียนพบว่า เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับพิณกูฉิ่น และกู่เจิงที่เป็นตำราภาษาไทยมีอยู่อย่างจำกัด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาและเจตนา ของผู้เขียนที่มุ่งสืบสานและเผยแพร่เรื่องราวของพิณจีนโบราณทั้งสองชนิดนี้ ให้คงอยู่และเป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้สนใจศึกษา ด้วยเห็นความสำคัญของพิณ ทั้งสองอันเป็นมรดกทางอารยธรรมโบราณของมนุษยชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และหวังว่าจักเป็นการกระตุ้นความสนใจให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ใคร่ศึกษาผ่าน เอกสารอ้างอิงทางวิชาการที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ อันจะเป็นประโยชน์สืบไป โครงสร้างของบทความชุดนี้เป็นการวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบ พิณจีนโบราณดังกล่าวข้างต้น โดยเริ่มจากประวัติและต้นกำเนิด ความเหมือน และความต่างทางรูปลักษณ์ของเครื่องดนตรีโบราณทั้งสองชนิดนี้ เทคนิค การดีดพิณ อัตลักษณ์แห่งตัวโน้ตที่ต่างจากตัวโน้ตของเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ อย่างเด่นชัด ลักษณะบทเพลงที่ใช้บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสองประเภทนี้ จนถึง ความเกี่ยวพันกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีน และข้อสรุปในมิติของ ความเป็นเครื่องดนตรีแห่งลมปราณและจิตวิญญาณ สู่ความผูกพันในวิถีแห่ง การบำเพ็ญ ธรรมที่สืบทอดจากยุคอารยธรรมโบราณจวบจนถึงปัจจุบัน โดย มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นตำราสอนวิธีดีดพิณแต่อย่างใด หากแต่มุ่งสร้าง องค์ความรู้อย่างครอบคลุมและเป็นการกระตุ้นเตือนให้รู้รักษ์อารยธรรมอันลํ้าค่า ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความชุดนี้จะสามารถจุดประกายให้เกิดผลงานการค้นคว้าศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพิณจีน โบราณทั้งสองนี้ยิ่งๆ ขึ้นไป มิปล่อยให้มรดกแห่งเอเชียอันลํ้าค่านี้ต้องสูญหาย ไปพร้อมกับกาลเวลาและถูกทับถมหลงลืมไปกับการหลั่งไหลถ่ายเทเข้ามาของ วัฒนธรรมใหม่

References

Gaywood, Harriet Rosemary Ann (1996). “Guqin and Guzheng: The Historical and Contemporary Development of Two Chinese Musical Instruments”, Durham Theses, Durham University, Available at Durham E-Theses Online: http://etheses.dur.ac.uk/4894/.

Gulik, R.H. Van. (1969), “The Lore of the Chinese Lute: An Essay in the Ideology of the Ch’in”, Sophia University in cooperation with The Charles E. Tuttle Company, Tokyo, Japan.

李祥霆 (2015), <<古琴实用教程>>, 上海: 上海音乐出版社.

Shizuka, Satsuki. (2014), “Why Tradition Must Reform: The Jianzipu’s Challenges (Part 2 of 2)”, https://torguqin.wordpress.com/2014/05/09/huang-hongwen-jianzipu-pt2/.

Wang, Peter. (2016), “Top 10 Traditional Chinese Guzheng Music”, China Whisper: Culture& istory on March 3, 2016. http://www.chinawhisper.com/top-10-traditional-chinese-guzheng-music/

Zhuo, Sun. (2016), “The Chinese Zheng Zither: Contemporary Transformations”, Routledge, New York, USA.

http://www.guzhengstudio.net/About_the_Guzheng.html (on Jan 30,2018).

https://ich.unesco.org/en/RL/guqin-and-its-music-00061 (on July 15,2017)“Guqin and its music”.

www.philmultic.com/English/Chinese_music.html (on July 15, 2017).

www.seattleguzheng.com/history (on July 15,2017).

https://torguqin.wordpress.com/2014/05/09/huang-hongwen-jianzipu-pt2/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2018

ฉบับ

บท

บทความวิจัย