หลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมศรีวิชัยในคาบสมุทรภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ลักษมณ์ บุญเรือง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี กรมศิลปากร

บทคัดย่อ

เอกสารการศึกษาฉบับนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมศรีวิชัย อันเป็นวัฒนธรรมแรกเริ่มในสมัยประวัติศาสตร์ที่พบใน เขตคาบสมุทรมลายู โดยเน้นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหลัก ทั้งหลักฐานด้านเอกสารโบราณ หลักฐานจารึก ประกอบกับหลักฐาน ทางโบราณคดี คือโบราณสถาน และโบราณวัตถุ จากแหล่งโบราณคดีต่างๆ ในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ เป็นบริเวณที่เหมาะสม กับการค้าขายกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ได้ใช้ประโยชน์จากสภาพภูมิประเทศ สภาพที่ตั้งเป็นชุมชนการค้าและพัฒนาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ในชื่อวัฒนธรรม ศรีวิชัย โดยพบหลักฐานทั้งที่เป็นเอกสารโบราณจากชุมชนภายนอกที่กล่าวถึง จารึกด้วยรูปอักษรโบราณ ประกอบด้วยอักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ และ อักษรขอมโบราณ รวมทั้งหลักฐานที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ งานประติ- มากรรมรูปเคารพ ที่สามารถเทียบเคียงได้กับวัฒนธรรมข้างเคียง เช่น วัฒนธรรม ชวา ในประเทศอินโดนีเซีย และวัฒนธรรมอินเดีย วัฒนธรรมศรีวิชัย เป็นวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานจากลัทธิความเชื่อทาง พุทธศาสนา มหายาน เสื่อมสลายลงด้วยปัจจัยทางวัฒนธรรมด้วยการเข้ามา ของลัทธิความเชื่อใหม่ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อันได้แก่วัฒนธรรม แบบมุสลิม และวัฒนธรรมพุทธศาสนาเถรวาท แบบลังกาวงศ์ ประกอบกับ นโยบายทางการค้าของประเทศมหาอำนาจอย่างจีน ที่เปลี่ยนมาค้าขาย โดยตรง เป็นปัจจัยให้วัฒนธรรมศรีวิชัยเสื่อมสลายลง และแยกออกเป็น สองกลุ่ม คือ กลุ่มคาบสมุทรมลายูตอนบน พัฒนาเข้าสู่รัฐนครศรีธรรมราช เป็นรัฐทางพุทธศาสนาเถรวาท และ กลุ่มคาบสมุทรมลายูตอนล่างและหมู่เกาะ เป็นกลุ่มรัฐมุสลิม

References

จันทร์จิรายุ รัชนี, ม.จ. (๒๕๓๐). อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. กรุงเทพฯ : อรุณวิทยา.

เซเดส์, ยอร์ช (๒๕๐๔). ประชุมศิลาจารึกภาค ๒ : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ) (๒๕๔๕). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา.กรุงเทพฯ : รำไทยเพลส.

นงคราญ ศรีชาย (๒๕๔๔). ตามรอยศรีวิชัย. กรุงเทพฯ : บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน).

นงคราญ สุขสม (๒๕๔๕). ประวัติศาสตร์โบราณคดีสุราษฎร์ธานี. กทม. :บริษัทอาทิตย์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด.

ประทุม ชุม่ เพ็งพันธุ์ (๒๕๔๘). ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์ .

ประพนธ์ เรือนณรงค์ (๒๕๕๑). ชื่อบ้านนามเองภาคใต้ จังหวัด อำเภอ และสถานที่ บุคคลบางชื่อ. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

ปัญญา จารุสิริ และคณะ (๒๕๔๕). ธรณีวิทยาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.กรุงเทพฯ : ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผาสุข อินทราวุธ (๒๕๔๓). พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย.

พงศ์ธันว์ สำเภาเงิน (๒๕๕๖). พัฒนาการทางวัฒนธรรมบนคาบสมุทรมลายูก่อน พ.ศ.๑๘๐๐. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

พุทธทาสภิกขุ (๒๕๔๐). แนวสังเขปโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน. (พิมพ์ครั้งที่ ๓)กรุงเทพฯ : อรุณวิทยา.

มานิต วัลลิโภดม (๒๕๓๐). ทักษิณรัฐ. กทม. : รุ่งศิลป์การพิมพ์.

ศิลปากร, กรม (๒๕๒๕). รายงานการสัมมนาเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีศรีวิชัย.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

ศิลปากร, กรม (๒๕๒๙). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ :อมรินทร์การพิมพ์.

ศิลปากร, กรม (๒๕๒๙). จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ.

ศรีศักร วัลลิโภดม (๒๕๔๖). อูอ่ ารยธรรมแหลมทอง คาบสมุทรไทย. กรุงเทพฯ :พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ) (๒๕๓๑). ศรีวิชัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (๒๕๔๓). ศรีวิชัยในสยาม. กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

สุภัทรดิศ ดิศกุล ม.จ. (๒๕๔๙). ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐.พิมพ์ครั้งที่ ๔, กรุงเทพฯ : สมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

อนุวิทย์ เจริญศุภกุล (๒๕๒๔). แบบโครงสร้างและระเบียบการก่ออิฐสถาปัตยกรรมสกุลช่างเขมรและศรีวิชัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Wheatley, Paul (1961). The Gokden Khersonese. Kuala Lumper : University of Malaya Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2018

ฉบับ

บท

บทความวิจัย