เครื่องเขินเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • โฆษิต ไชยประสิทธิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “เครื่องเขินเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ ๑) ประวัติศาสตร์เครื่องเขินเชียงใหม่ ๒) กระบวนการผลิตเครื่องเขินเชียงใหม่ ๓) การเปลี่ยนแปลงเครื่องเขินเชียงใหม่ และ ๔) การอนุรักษ์สืบทอดเครื่องเขิน เชียงใหม่ เครื่องเขิน คือเครื่องใช้สอยที่ทำขึ้นโดยวิธีการเฉพาะอย่าง ประกอบ ด้วยไม้ หรือไม้ไผ่ ทำเป็นเครื่องใช้สอยต่างๆ ตามความต้องการแล้วใช้กรรมวิธี ตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ยางรัก สีชาด มุก ทองคำเปลว เป็นวัตถุดิบสำคัญ ในการทำเครื่องเขิน ลวดลายของเครื่องเขินในเชียงใหม่ มีอยู่ด้วยกัน ๕ แบบ คือ เครื่องเขิน ลายขุด เครื่องเขินลายรดนํ้า เครื่องเขินรักสี เครื่องเขินประดับเปลือกไข่ เครื่องเขิน เขียนสี ประเภทลวดลาย นิยมทำเป็นลายประดิษฐ์ ลายเลียนแบบธรรมชาติ และเบ็ดเตล็ด การตกแต่งเครื่องเขิน มีเทคนิคต่างๆ ดังนี้ เทคนิคการขูดขีดฝังสี เทคนิครักลายทอง เทคนิครักสี เทคนิคเครื่องเขินประดับมุก เทคนิคลายเส้นนูน ปิดทองและฝังกระจก เทคนิคการติดเปลือกไข่ ส่วนประกอบสำคัญในการผลิตเครื่องเขินคือ “รัก” การลงรักเครื่องเขิน มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ ๑) ขั้นเตรียมการ โดยมีสมุกเป็นวัสดุรองพื้นในงาน เครื่องเขิน สมุกมาจากสารต่างๆ มาผสมกับยางรัก ซึ่งจะทำให้เกิดการจับตัว มีความข้นเหนียว สามารถเกาะติดและทรงตัวได้เมื่อทาลงบนโครงผลิตภัณฑ์ รูปทรงต่างๆ ๒) ขั้นการทารัก ประกอบไปด้วย การทารักขั้นแรก การทารักขั้นกลาง และการทารักขั้นสุดท้าย กระบวนการผลิตรักเครื่องเขินซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ทำให้เครื่องเขิน แตกต่างจากงานหัตถศิลป์อื่นๆ ชาวล้านนาเรียกว่า “นํ้าฮัก” ต้นรักที่นิยมเจาะ เอายางมากที่สุดคือ “ต้นรักใหญ่ หรือต้นฮักหลวง” การกรีดยางรักจะแบ่งเป็น ๓ ระยะ แต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม จะได้ยางรักที่มีคุณภาพดีที่สุดคือยางรักจะมีความข้น เหนียว สะอาด เรียกว่า “ฮักนาย” เมื่อได้ยางรัก มาแล้วก็จะแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ รักดิบ รักนํ้าเกลี้ยง รักสมุก รักเกลี่ย รักเช็ด รักใส ซึ่งรักแต่ละประเภทก็มีคุณลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป การผลิตเครื่องเขินเชียงใหม่ ได้ผ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมา อย่างยาวนาน ปัจจัยที่ส่งผลให้เครื่องเขินเชียงใหม่สามารถดำรงอยู่ได้คือ กระบวนการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่ต้องอนุรักษ์คือการรักษารูปแบบกระบวนการผลิต รูปผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน แบบโบราณ เพราะปัจจุบันเครื่องเขินถูกดัดแปลงตามความต้องการของ ผู้บริโภค ด้านแนวทางการส่งเสริมภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ควรให้ สังคมตระหนักเห็นประโยชน์ของต้นรักใหญ่ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต เครื่องเขินที่ใกลสู้ญพันธุ์ ปัจจุบันชุมชนบ้านนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีกระบวนการเสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน โดยการก่อตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เยาวชน ผู้สนใจ และนักท่องเที่ยวได้ทดลองปฏิบัติ นับเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการสร้างจิตสำนึก และเห็นคุณค่าประโยชน์ของการอนุรักษ์พันธุ์ต้นรักใหญ่ และศิลปะการผลิต เครื่องเขินสืบไป

References

กนกวรรณ จอมอนงค์. (๒๕๓๕). การผลิตภัณฑ์และการตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องเขินในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.

กรเพชร เพชรรุ่ง. (๒๕๓๙). เครื่องเขินเชียงใหม่. ใน สรรพช่าง : ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ดาว.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. (ม.ป.ป.). เครื่องเขิน. (ม.ป.ท.) : (ม.ป.พ.).

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (ม.ป.ป.). เครื่องเขิน. (ม.ป.ท.) : กิจเสรีการพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ. (ม.ป.ป.). เครื่องเขิน. ลำปาง : กิจเสรีการพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (๒๕๕๓). การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านการบริหารจัดการวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

กาญจนา รัตนธรรมเมธี. (๒๕๓๘). การเปลี่ยนแปลงสู่อาชีพนอกภาคเกษตรกรรมของสตรีในชนบท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย. (๒๕๓๘). ช่างสิบหมู่. (ม.ป.ท.) : (ม.ป.พ.).

เครื่องเขินกลุ่มคัวฮักคัวหาง. (ม.ป.ป.). เอกสารแผ่นพับ. (ม.ป.ท.) : (ม.ป.พ.).

ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี, สมหมาย เปรมจิตต์ และทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์. (๒๕๒๘). สรุปสภาพระบบหัตถกรรมบางประเภทในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. เชียงใหม่ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฏฐิณี ทิมทอง. (๒๕๔๓). กลยุทธ์การขายสินค้าที่ระลึก กรณีศึกษา สินค้าที่ระลึกประเภทงานศิลปหัตถกรรมบริเวณลานศิลปหัตถกรรมไนท์บาซาร์ จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


ทรงเดช สุทธสา. (๒๕๔๕). ความมั่นคงในอาชีพแกะสลักไม้ของชุมชนบ้านกิ่วแลน้อยและกิ่วแลหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นงลักษณ์ ขันอุระ. เครื่องเขินเชียงใหม่กับการเปลี่ยนแปลงการผลิต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๔๖.

นภาวรรณ พึ่งคำนวน. (๒๕๓๘). การศึกษารูปแบบและประโยชน์ใช้สอยของเครื่องเขินเชียงใหม่. ภาคพนธ์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นันทิยา ตันตราสืบ. (๒๕๔๕) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าที่ระลึกประเภทหัตกรรมของผู้บริโภคชาวไทยจากศูนย์หัตถกรรมภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

บรรชร กล้าหาญ. (๒๕๓๙). การเปลี่ยนแปลงกระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตของหัตถกรรมพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ประเทืองเครื่องเขิน. (ม.ป.ป.). เอกสารแผ่นพับ. (ม.ป.ท.) : (ม.ป.พ.).

พระยาประชากิจกรจักร. (๒๕๕๗). พงศาวดารโยนก. บริษัท สำนักพิมพ์ศรีปัญญา จำกัด, นนทบุรี.

มณี พยอมยงค์. (๒๕๒๘). เครื่องเขินในความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับล้านนาไทย เรื่องชาวเขาในดินแดนล้านนา กับเครื่องเขิน. กรุงเทพฯ : อักษรธเนศวร.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาศิลปศาสตร์. (๒๕๓๓). เอกสารการสอนชุดวิชามนุษย์กับสังคม (เล่มที่ ๑ หน่วยที่ ๑–๕). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ลมูล จันทน์หอม. (๒๕๓๗). ความเชื่อและพิธีกรรมของไทย–ไท ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน กรณีศึกษาไทยเขิน ในรายงานการประชุมสัมมนาเรื่อง ความเชื่อและพิธีกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านไทย–ไท วันที่ ๑๐–๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๗ โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : (ม.ป.พ.).

รัตนะ บัวสนธ์ และคณะ. (๒๕๔๑). บทบาทของสถาบันหลักและปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านหนองหัวยาง. พิษณุโลก : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วนิดา แก้วเนตร. (๒๕๔๕). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกประเภทหัตถกรรมพื้นบ้านของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาบ้านถวายอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (๒๕๓๕). มรดกไทย. กรุงเทพฯ : ปาณยา.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (๒๕๔๐). มรดกวัฒนธรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่.

วัฒนะ วัฒนาพันธ์ และคณะ. (๒๕๒๑). โครงการวิจัยศิลปะพื้นบ้านล้านนา. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. (๒๕๓๙). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับ ๗๐๐ ปี. สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สอนสุพรรณ. (๒๕๕๐, สิงหาคม). เครื่องฮักเครื่องหาง : เครื่องฮักเครื่องคำ. สืบค้นจากhttp : //www.oknation.net/blog/print.php?id=๑๐๕๒๔๕.

สุรพล ดำริห์กุล. (๒๕๓๙). แผ่นดินล้านนา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

ฮักเครื่องเขิน. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก www.siam–shop.com/๒๙๑๑๒.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2016

ฉบับ

บท

บทความวิจัย