ภูมินามพื้นบ้าน : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับวรรณกรรม พื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • รังสรรค์ จันต๊ะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ภูมินามพื้นบ้าน, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, วรรณกรรมพื้นบ้าน, วาทกรรม, อัตลักษณ์

บทคัดย่อ

ภูมินามพื้นบ้าน เป็นระบบวิธีคิดทางวัฒนธรรมของชาวบ้านที่มีความหมาย และสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย อันเกี่ยวข้องอยู่กับวิธีคิด ทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพ ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมท้องถิ่น ที่สะท้อนถึง ระบบอำนาจ อัตลักษณ์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในตัวเองของชุมชนท้องถิ่น อย่างสมบูรณ์ ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการต่อสู้ เพื่อช่วงชิงความหมายและพื้นที่ทางสังคมของคนท้องถิ่น กับอิทธิพลการครอบงำจากอำนาจรัฐส่วนกลาง โดยใช้กลไกการปกครอง ศาสนา สื่อและการศึกษาแบบ สมัยใหม่ เป็นเครื่องมือในการลดทอนศักดิ์ศรี คุณค่า และความหมายทางสังคม ของคนในท้องถิ่นให้อ่อนด้อยลงไป จนชื่อหมู่บ้านหลายแห่งผิดเพี้ยนจาก ความหมายดั้งเดิมไปอย่างมาก จนในที่สุดอาจทำให้ท้องถิ่นไม่มีที่ยืนทาง ประวัติศาสตร์ และไม่สามารถอธิบายความเป็นมาของตนเองให้คนรุ่นหลังรับทราบ ในเรื่องที่ถูกต้องและเป็นจริงได้ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนตั้งชื่อหมู่บ้าน ตามบริบทต่างๆ เช่น ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น บ้านเด่น บ้านดอน บ้านสันป่าสัก บ้านห้วยเกี๋ยง ทุ่งข้าวเน่า ป่าไผ่ ตามอิทธิพลจากงานวรรณกรรม เช่น บ้านย่าพาย บ้านสะลวง (สรวงสวรรค์) บ้านพระนอน บ้านลังกา ตามความชำนาญ ในการผลิต เช่น บ้านช่างฆ้อง ช่างแต้ม วัวลาย ร้อยพ้อม ตามวีรบุรุษประจำ ถิ่น เช่น บ้านสันต๊ะผาบ ตามกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น บ้านมอญ ร้องเม็ง สันนาเม็ง ตามลักษณะเด่นของหมู่บ้าน เช่น บ้านบ่อส้าง บ้านน้ำบ่อหลวง บ้านบ่อค่าง เหล่านี้ เป็นต้น แต่ด้วยอิทธิพลจากอำนาจรัฐส่วนกลาง อันเป็นกลไกเชิงอำนาจของ ระบบการปกครองจากกระทรวงมหาดไทย ครู กลไกและอำนาจเชิงความรู้จาก การศึกษาสมัยใหม่ และเจ้าอาวาสวัด กลไกของความเชื่อและความศรัทธาทาง ศาสนา กลไกเหล่านี้มักเข้ามาชี้นำและครอบงำความคิดของชาวบ้าน ให้ดูถูก ตัวเองและท้องถิ่นว่าตํ่าต้อย ล้าหลัง ไม่ทันสมัย ทำให้หมู่บ้านหลายแห่ง ที่มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นดั้งเดิม เปลี่ยนเป็นชื่อที่ผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม หาความหมายไม่ได้ หรือผิดเพี้ยนไปจากรากฐานของความหมายเดิมออกไป รวมถึงการสร้างเรื่องราวแบบใหม่ขึ้นแทนที่เรื่องราวแบบพื้นบ้านดั้งเดิม เมื่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประชาชนท้องถิ่นถูกครอบงำ ทำให้ศักดิ์ศรีและอำนาจของท้องถิ่นอ่อนด้อยลง ย่อมส่งผลให้ความเป็นรัฐชาติ โดยรวมอ่อนด้อยลงไปด้วย การทำให้ท้องถิ่นเกิดจิตสำนึกและเชื่อมั่นในอำนาจและ ศักดิ์ศรีของตัวเอง ย่อมมีผลทำให้ความเป็นรัฐชาติโดยรวมเข้มแข็งและอยู่ร่วมกัน บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม เกิดความสันติสุขร่มเย็นในที่สุดได้

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. ๒๕๓๗, “ความรูทั้่วไปเกี่ยวกับคติชนวิทยา”, เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๘, พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและชำระตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. ๒๕๓๘, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, เชียงใหม่: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.

จิตร ภูมิศักดิ์. ๒๕๔๘, ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย, โครงการสรรพนิพนธ์จิตรภูมิศักดิ์, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.

ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. ๒๕๓๖, การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ, กรุงเทพฯ: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. ๒๕๒๗, เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้างสรรค์.

ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. ๒๕๓๙, เชิงอรรถวัฒนธรรม, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. ๒๕๔๒, วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น, กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ธงชัย วินิจจะกูล. ๒๕๓๔, รายงานโครงการวิจัยเสริมหลักสูตรเรื่อง วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา (Genealogy), คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เธียรชาย อักษรดิษฐ์. ๒๕๕๒, ตำนานพระเจ้าเลียบโลก: การศึกษาพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรม ล้านนา ภูมินาม ตำนาน ผู้คน, เชียงใหม่: บริษัทธารปัญญา จำกัด.

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บก.), ๒๕๔๖, “โลกศักดิ์สิทธิ์กับโลกสามัญในชีวิตทางสังคม” เจ้าแม่ คุณปู่ ช่างซอ ช่างฟ้อนและเรื่องอื่นๆ ว่าด้วยพิธีกรรมและนาฏกรรม, กรุงเทพฯ:, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (บรรณาธิการ), ๒๕๔๖. อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ, หนังสือรวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ ๑ เรื่อง “คนมองคน: นานาชีวิตในกระแสการเปลี่ยนแปลง, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. ๒๕๔๒, สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ, กรุงเทพฯ: บริษัทสยาเพรส แมเนจเมนท์ จำกัด.

ยงยุทธ ชูแว่น. ๒๕๕๑, ครึ่งศตวรรษแห่งการค้นหาและเส้นทางสู่อนาคตประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย, กรุงเทพฯ: สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

รังสรรค์ จันต๊ะ. ๒๕๕๒, บ้าน โหล่ง และเมือง: เขตความสัมพันธ์บนฐานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชนในแอ่งเชียงใหม่–ลำพูน ตอนบน, โครงการวิจัยเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน, เชียงใหม่, บริษัท
ธารปัญญาจำกัด.

วสันต์ ปัญญาแก้ว, ๒๕๕๐. “เสียงไตลื้อ: การเดินทาง/เคลื่อนที่ของพลเมืองลื้อสิบสองปันนา” ใน สังคมศาสตร์: ศาสนา ชาติพันธุ์และการพัฒนาระดับภูมิภาคในเขตลุ่มนํ้าโขง, วารสารทางวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๒/๒๕๕๐, เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนสามัญ โคขยัน มีเดียทีม.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ๒๕๕๑, ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ศิราพร ณ ถลาง. ชนชาติไทในนิทาน: แลลอดแว่นคติชนและวรรณกรรมพื้นบ้าน, ๒๕๔๕, กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, สำนักพิมพ์มติชน.

สมโชติ อ๋องสกุล. ๒๕๔๖, (เอกสารอัดสำเนา), รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยประวัติศาสตร์ชุมชนในเชียงใหม่: การสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, ทุนอุดหนุนการวิจัย สกว.

สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. ๒๕๔๑, ถิ่นที่อยู่คนไทยในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๕๓, ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

Bascom R. Williem, 1965. “Four Functions of Floklore” In Dundes Alan (ed.). The Study of Folklore. (New Jersey : Prentice–Hall,) pp.281–282.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2015

ฉบับ

บท

บทความวิจัย