ล้านนาคดี...ที่บันทึกโดยชนชาติอื่น
คำสำคัญ:
ล้านนาคดี, ชนชาติจีนบทคัดย่อ
การได้รับรู้และเข้าใจเรื่องราวเก่าก่อนผ่านเรื่องเล่าของบรรพชน นับเป็นวิถีการเข้าถึงราก เหง้าแห่งการดำรงอยู่และหยั่งถึงประวัติศาสตร์ชีวิตของผู้คนในอดีตอันควรค่าแก่การศึกษา ไม่ว่า จะเป็นการเล่าผ่านตำนาน การ บันทึกไว้ในวิถีแห่งศิลปะการแสดง วิถีแห่งอาภรณ์ พิธีกรรม ภาษา และสถาปัตยกรรม ล้วนสื่อสะท้อน ย้อนให้เห็นถึงที่มาที่ไป ความเป็นมาของชีวิตผู้คนในอดีต ได้อย่างชัดเจน มีบ้างที่บันทึกไว้อย่างซ่อนสัญลักษณ์ ให้ต้องมาขบคิดตีความกัน
การได้ศึกษาเรื่องราวในอดีตนอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจปัจจุบันได้มากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เรา ยิ่งชัดเจนในแนวทางที่จะดำรงสืบไปในอนาคตภายหน้าอีกด้วย อย่างไรก็ดี การจะเรียนรู้เรื่องราว ของคนในชาติในอดีตนั้น มีมากมายหลากหลายมิติ ทว่าในบทความนี้เลือกที่จะศึกษาสืบค้น และวิเคราะห์เรื่องราวชาวล้านนาที่ถูกบันทึกอยู่ในเรื่องราวของชนชาติอื่น อาทิ จากเอกสารจีน พม่า และจากชนชาติอื่นใด ที่ได้มีโอกาสบันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต อันเกี่ยวข้อง กับชาวล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชาวล้านนาในเอกสารจีน ที่มีแง่มุมจากทั้งสมัยทำศึกสงคราม แง่มุมของวิถีชีวิต ความเชื่อ และประเพณีในอดีต
ตามที่มีหลักฐานปรากฏว่าชนชาติจีน มีความเป็นมายาวนานกว่าชนชาติใดๆในโลกและ เป็นชาติที่คิดค้นการจดบันทึกเรื่องราวหลากหลายวิธี รวมถึงการคิดค้นกระดาษเยื่อไผ่ที่เอาไว้เขียนเรื่อง ราวและยังคงเก็บรักษาไว้ได้ยาวนาน การบันทึกเรื่องราวแทบทุกยุคทุกสมัยเกิดขึ้นจนเป็น ขนบอันสำคัญของจีน เมื่อถึงคราวเปลี่ยนถ่ายอำนาจการปกครองของราชวงศ์ต่างๆ ราชวงศ์ต่อมา ก็จะรวบรวมและบันทึกเรื่องราวของราชวงศ์ก่อนหน้า กอปรกับจักรพรรดิ์จีนในอดีตเองก็มักเป็นผู้ที่ทรงไว้ด้วยความสามารถด้านวิชาอักขระและวรรณคดี มีส่วนในการร่วมชำระเนื้อความในบันทึกประวัติศาสตร์แทบทุกราชวงศ์ เรียกได้ว่าการบันทึกเรื่องราวที่ครอบคลุม ตั้งแต่การทำศึกสงคราม การค้า การสร้างสัมพันธไมตรี เรื่องราวของดินแดนนอกแผ่นดินจีน เรื่องราวที่จีนได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชน ชาติอื่น เหตุการณ์ต่างๆจากภัยธรรมชาติ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาด จนเรียกได้ว่า การจดบันทึกเป็นอีกงานหลักที่สำคัญยิ่งของปราชญ์ในราชสำนักในแต่ละราชวงศ์ของจีน
จวบจนถึงวันนี้ยังคงมีตำราและเอกสารทางวิชาการที่มุ่งแปลถอดความเรื่องราวของ ชาวล้านนาที่ถูกบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ของจีนมากมาย บ้างก็ใช้เป็นแหล่งความรู้ ในการ สืบค้นถึงวิวัฒนาการทางภาษาของชาติพันธุ์ไทยที่มีใช้ในแผ่นดินจีนในปัจจุบัน บ้างก็สืบค้นร่องรอยของกลุ่มบรรพชนไทยที่หลงเหลืออยู่ในแผ่นดินจีน และยังคงสืบหาขนบประเพณีวิถีล้านนา ที่ยังคงหลงเหลือทางตะวันตกและทางตอนใต้ของแผ่นดินจีน
บทความนี้มุ่งที่จะรวบรวมอย่างกระชับในพื้นที่จำกัด เพื่อให้เป็นเอกสารที่วิเคราะห์ถึง การ บันทึกเรื่องราวของชาวล้านนาในเอกสารของชนชาติอื่น การได้รู้ว่าชนชาติอื่นบันทึกเรื่องราว ในอดีตของเราไว้อย่างไร ยิ่งทำให้เราพอจะเห็นถึงสภาพแวดล้อมทางการดำรงอยู่ บทบาทและความสัมพันธ์ ทางสังคมในอดีต ความเชื่อ และขนบวิธีการใช้และพัฒนาการของภาษา ตลอดจนถึงวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลจากชาติที่เคยข้องเกี่ยว ถ่ายโอนและเจือปนกันในอดีตกาล ไม่ว่าจะในมิติใด ก็ตามล้วนสามารถช่วยฉุดรั้งให้ได้สะท้อนย้อนมองดูตนแต่เก่าก่อน ว่าเราเป็นมาอย่างไร ก่อนที่จะพากันก้าว ไกลไปข้างหน้า ได้หันกลับมาเรียนรู้ว่าอะไรที่เป็นรากฐานอันมั่นคง อะไรเป็นรากฐานที่ทำให้ปัจจุบันเราสั่นคลอน เพื่อจะได้เรียนรู้ มีแนวทาง และมีหลักยึดเพื่อก้าวสู่วิถีแห่งการพัฒนาอย่างมั่นคง และยั่งยืนที่แท้จริงในภายหน้า
References
Dodd, William. (1997). The Tai Race: Elder Brother of the Chinese. White Lotus Co Ltd; New Ed edition (1997)
Grabowsky, Volker. (2005). Population and State in Lanna Prior to the Mid-Sixteenth Century. Journal of Siam Society.Vol.93, 2005. Thailand
Liew, Foon Ming et al. (2007). Intra-dynastic and Inter-Tai Conflicts in the Old Kingdom of Moeng Lu in Southern Yunnan. SOAS Bulletin of Burma Research 5 2007
Liew, Foon Ming et al. (2008). Lanna in Chinese Historiography: Sino-Tai Relations as Refletced in Yuan and Ming Sources (13th to 17th Centuries). Institute of Asian Studies Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand
Ming Shi Gao 明史稿 (Draft of the history of the Ming Dynasty), edited under Wang Hongxu, completed in 1723, photographic reprint of the original edition in Taiwan. Wenhai. Chubansi.1985.
Ptak, R. (2012). Asia. Annotated sources of Ming history: Including Southern Ming and workd on neighbouring lands, 1368 - 1661. By Wolfgang Franke. Revised an enlarged by Liew-Herres Foon Ming. Kuala Lumpur: University of Malaya Press, 2011. 2 Vols. Pp xxxvii 1289. Bibliography, Indexes. Article of Southease Asian Studies, 43(2), 364 - 367. doi:10.1017/S0022463412000100
Sithu, Gamani Thingyan. (18th century). Zinme Yazawin = Chronicle of Chiang Mai by Sithu Gamani Thingyan; translated by Thaw Kaung, Ni Ni Myint; edited by Tun Aung Chain. (2003).Universities Historical Research Centre. Yangon. Myanmar
林荣贵( 2008). "Territory History of Ancient China ( Set 3 volumes) (4 Volumes) (Chinese edition). Heilongjiang Education Press, China.
王巨新. (2018). 清代中泰关系 Sino - Siamese Relations during the Qing Dynasty. 中华书局, 北京.
https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=737450&remap=gb (New History of Yuan Dynasty)
https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&res=410835&remap=gb (History of MIng Dynasty)
https://www.wikiwand.com/en/Zinme_Yazawin
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ