เงินแถบ : เงินตรา ประวัติศาสตร์ อำนาจ และพิธีกรรม

ผู้แต่ง

  • สุนทร คำยอด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

เงินแถบ, เหรียญอาทิตย์อุทัย, เหรียญสังข์ใหญ่, เงินตราล้านนา

บทคัดย่อ

ล้านนาเป็นพื้นที่แห่งความหลากหลาย ที่มีการปะทะสังสรรค์ทางการเมือง การสงคราม และการค้า อย่างต่อเนื่อง หากเงินตราเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ จากหนังสือเรื่อง “เงินตราล้านนา” ผลงานของ นวรัตน์  เลขะกุล (2555) สามารถไล่เรียงพัฒนาการ การใช้เงินตราของชาวล้านนาโบราณในยุคสมัยต่าง ๆ ดังนี้ ก่อนสมัยล้านนา จะใช้  “หอยเบี้ย เงินปลา เงินม้า และโลหะมีค่า” ในสมัยหิรัญเงินยาง จะใช้         เงิน “ธ็อกใบไม้ เงินธ็อกเนื้อสำริดและทองแดง”ในยุคที่อารยธรรมมอญเรืองอำนาจได้ก่อกำเนิดอาณาจักรหริภุญไชย ได้มีการผลิตเหรียญเงินขึ้นมาใช้ ได้แก่ “เหรียญอาทิตย์อุทัย และเหรียญสังข์ใหญ่” จำเนียรกาลผ่านผันสู่ยุคทองของล้านนาได้ผลิต “เงินเจียง” ขึ้นมาเพื่อใช้ในการซื้อขายโดยมีการประทับตราเมืองต่าง ๆ ต่อมาเมื่อพม่าได้มีอำนาจเหนือล้านนาก็ได้ผลิตเงินขึ้นมาใช้ อาทิ “เงินดอกไม้ เงินธ็อกหอยโข่ง และเงินปากหมู” เมื่อเป็นประเทศราชของสยามก็ใช้เงิน “รูปี”หรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า “เงินแถบ” ภายหลังเมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้นเหรียญเงินที่ผลิตโดยรัฐบาลจากสยามที่มีจึงเข้ามามีบทบาทในหัวเมืองล้านนา

References

ชรัตน์ สิงหเดชากุล. 2543. ชาวลาวทางตอนเหนือของประเทศสยาม(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2540. เงินตราล้านนาและผ้าไท. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ประสงค์ ปัญญาเพชร. 2554. ความสัมพันธ์ของเครือญาติ : สกุล วณีสอน, ญาณวุฒิ, เตชะบุตร, กันทะ, วรรณภีร์ ฯลฯ. เชียงใหม่: ม.ป.พ.
พระครูสมุห์รัตนวัฒน์ พุทฺธิสิริ. (2553). ปัคคะทืนเชียงแสน – ละคร. ลำปาง: กลุ่มรักษ์พุทธศิลป์ถิ่น
ลำปาง.
นวรัตน์ เลขะกุล. 2555. เงินตราล้านนาและผ้าไท. เชียงใหม่ : ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ.
ลือชัย จุลาสัย, บรรณาธิการ.2528. เศรษฐกิจภาคเหนือ ประเทศไทย : ปัจจุบันและอนาคต. เชียงใหม่: คณะ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. 2547.ครัวหย้องของงามแม่ญิงล้านนา . เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศศิภัสร์ เที่ยงมิตร. 2545. กาดหลวงเมืองเชียงตุงและเมืองเชียงใหม่ : ศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของระบบเศรษฐกิจโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2556. ประวัติวัดทรายมูลเมือง ประวัติวัดฉบับปะติด ประต่อจากเอกสารโบราณและจารึกภายในวัด. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สรัสวดี อ๋องสกุล. 2551. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 2542. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน. 2542. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
เสฐียร พันธรังษี. 2543. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ: มติชน.
อนุ เนินหาด. 2548. ประวัติชุมชนในเมืองเชียงใหม่. เขียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
อนุ เนินหาด. 2554. ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ พ.ศ. 2514. เขียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
อนุ เนินหาด. 2556. ย่านวัดเกตการาม. เขียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. 2554. สังคมและวัฒนธรรมล้านนา จากคำบอกเล่า. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ ส.การพิมพ์.
อุดม รุ่งเรืองศรี. 2547. พจนานุกรมล้านนา - ไทย : ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.
Rev.David G.Collins. 1906. An English- Laos. Chiang mai: Mission Press.

ข้อมูลสัมภาษณ์
นายคำ วารี (สัมภาษณ์ ) 14 พฤษภาคม 2553
บุญชู จันทรบุตร (สัมภาษณ์ ) 17 พฤษภาคม 2558
อรรณพ จันทรบุตร (สัมภาษณ์ ) 17 พฤษภาคม 2558

เผยแพร่แล้ว

21-12-2020