จามเทวี : ตัวตนและอุดมคติ

ผู้แต่ง

  • เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี

คำสำคัญ:

พระนางจามเทวี, ขุนหลวงวิลังคะ, พระโพธิรังสี

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้ศึกษาและนำเสนอมุมมองใหม่เกี่ยวกับตัวตนและอุดมคติของพระนางจามเทวี โดยเริ่มนำเสนอจากข้อสังเกตเรื่องยุคสมัยเกี่ยวกับพระนางจามเทวีที่อ้างถึงกันอยู่ในปัจจุบันว่ามีความคลาดเคลื่อน สรุปไม่ได้และยังไม่สิ้นสงสัย จากนั้นได้เสนอมุมมองใหม่เกี่ยวกับคัมภีร์จามเทวีวงศ์ซึ่งเป็นเอกสารโบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่ปรากกฏเรื่องราวของพระนางจามเทวีและถูกใช้เป็นเอกสารอ้างอิงถึงตัวตนของพระนางจามเทวี ศึกษาถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่พระโพธิรังสีใช้แต่งคัมภีร์จามเทวีวงศ์ ศึกษาถึงนัยจุดประสงค์ของการแต่งคัมภีร์จามเทวีวงศ์อันได้ข้อสังเกตว่าคัมภีร์จามเทวีวงศ์อาจเป็นงานวรรณกรรมการเมืองและการเมืองพุทธศาสนา และเรื่องราวของพระนางจามเทวีในคัมภีร์จามเทวีวงศ์นั้นเอื้อประโยชน์ให้สตรีสูงศักดิ์ที่มีตัวตนอยู่ในเวลาร่วมสมัยที่แต่งอย่างมีนัยสำคัญ

        นอกจากนี้บทความนี้ยังได้ศึกษาตัวตนของพระนางจามเทวีและขุนหลวงวิลังคะจากเรื่องเล่าที่มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนความเชื่อของผู้คนหลายชุมชนในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน และลำปาง นำเสนอความผันแปรเกี่ยวกับความทรงจำเรื่องพระนางจามเทวีและพระนามของพระนางจามเทวีในสำนึกของชาวบ้าน ตลอดจนศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อเรื่องเล่าดั่งเดิมจากเรื่องเล่าที่ถูกสร้างใหม่ จนสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าตัวตนของพระนางจามเทวีถูกสร้างขึ้นทั้งในรูปแบบที่อิงประวัติศาสตร์และอุดมคต พบว่าพระนางถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตอกย้ำความเก่าแก่ให้กับชุมชนและโบราณสถานที่ยังค้นหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไม่ได้แน่ชัด ซึ่งพระนางได้กลายเป็นตัวแทนของกาลเวลาไปในที่สุด

References

กรมศิลปากร, ๒๕๐๓, สมบัติจากเขื่อนภูมิพล, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร

ฉลาดชาย รมิตานนท์, ๒๕๔๕, ผีเจ้านาย, เชียงใหม่ : มิ่งเมือง

เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี, ๒๕๕๙, ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิด
ใหม่และข้อสังเกตบางประการ, กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จำปา เยื้องเจริญ และคณะ, ๒๕๒๒, ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย,
กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์

พระโพธิรังสี (แต่ง) แสง มนวิทูร (แปล), ๒๕๐๖, นิทานพระพุทธสีหิงค์, กรมศิลปากร

พระรัตนปัญญา (แต่ง) พระยาพจนาพิมน(แปล),๒๕๕๔, ชินกาลมาลินี, กรุงเทพ : ศรีปัญญา

พระรัตนปัญญา (แต่ง), แสง มนวิทูร (แปล), ๒๕๑๐, ชินกาลมาลีปกรณ์, พิมพ์เป็นอนุสรณ์แก่นายกี
นิมมานเหมินท์ เนื่องในวันเปิดตึกคนไข้พิเศษ“นิมมานเหมินท์-ชุติมา”, กรุงเทพฯ : มิตรนราการพิมพ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย, ๒๕๕๓, “ย้อนรอยพระนางจามเทวี” ตามหา “ท่าเชียงทอง
สองฝากแม่น้ำปิง”, เอกสารประกอบการเสวนาโครงการสำรวจชุมชนโบราณท่าเชียงทองยุคก่อนหริภุญชัย

เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์,๒๕๔๘, โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
หริภุญไชย, สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร

เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์,๒๕๔๘, ปริวรรตภาษา ชื่อบ้านนามเมือง สืบค้นความหมาย ถ่าย
ถอดอักขระคำว่า “หริภุญไชย” และ “ลำพูน”, กรมศิลปากร

เมธี ใจศรี และคณะ,๒๕๕๘,รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตำนานพระนางจามเทวีและขุนหลวง

วิลังคะ, โครงการรวบรวมจัดเก็บมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวุฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

สรัสวดี อ๋องสกุล(ปริวรรต), ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ใน พินิจตำนานลำปาง, เชียงใหม่ : ศูนย์
ล้านนาศึกษา

สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), ๒๕๓๘, ประชุมจารึกเมืองพะเยา, กรุงเทพ : มติชน

สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ), ๒๕๔๖, พระพุทธสิหิงค์ “จริง” ทุกองค์ ไม่มี “ปลอม” แต่ไม่ได้
มาจากลังกา, กรุงเทพ : มติชน

อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล, ๒๕๕๙, ชินกาลมาลินีและจามเทวีวงส์ : ตำนานบ้านเมืองล้านนา
ตำนานพระศาสนาห้าพัน, กรุงเทพ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต), ๒๕๔๓, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่,
กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, หน้าที่ ๕

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว, ๒๕๕๓, ผู้หญิงล้านนากับการเมืองในอดีต, อ้างในวารสารราชบัณฑิตสถาน
ฉบับที่ ๒๕ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๕๓)

ฮั่นส์ เพนธ์ และคณะ, ๒๕๕๐, ประชุมจารึกล้านนาเล่ม ๑๒ จารึกในจังหวัดเชียงใหม่ภาค ๔,
สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หน้า ๓๕

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2021