ผลกระทบและการปรับตัวของการท่องเที่ยวชุมชนจากการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในเขตพื้นที่หมู่บ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19), ผลกระทบ, ชุมชน, การปรับตัวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อการท่องเที่ยวชุมชนและการศึกษาการปรับตัวของการท่องเที่ยวชุมชน จากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชาวบ้านหมู่บ้านขุนกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละและ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deriation)
ผลวิจัยพบว่า ผลกระทบที่มีต่อการท่องเที่ยวชุมชนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าชาวบ้านมีการพัฒนาพื้นที่ให้เหมาะสมแก่นักท่องเที่ยวในสถานการณ์ดังกล่าว และยังมีพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงไป รองลงมาคือ ผลกระทบด้านสังคม พบว่าชาวบ้านตื่นตัวจากสถานการณ์ และชุมชนมีการแจ้งประชาสัมพันธ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อย่างชัดเจนสุดท้าย คือผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่าชาวบ้านมีการร่วมมือวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากสถานการณ์ดังกล่าว และชาวบ้านมีรายได้ลดลงจากการประกอบอาชีพหลัก สำหรับการปรับตัว พบว่าชาวบ้านเรียนรู้และติดตามสถานการณ์ข่าวสาร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีการวางแผนในการรับมือจากสถานการณ์และมีการเพิ่มการค้าขายทางแหล่งออนไลน์
References
https://www.paiduaykan.com/travel/เที่ยวดอยอินทนนท์-2
Posttoday. (2563). ผลกระทบวิกฤต COVID-19 กับเศรษฐกิจโลก. [รูปภาพ]. ออนไลน์. สืบค้นจากhttps://www.posttoday.com/finance-stock/news/618065
Thailand Tourism Directory. (2563). บ้านขุนกลาง. [รูปภาพ]. ออนไลน์. สืบค้นจากhttps://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/5034
Thai PBS (2563). การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. ออนไลน์. สืบค้นจากhttps://news.thaipbs.or.th/content/290347
กรุงเทพธุรกิจ (2563). ย้อนไทม์ไลน์100 วัน กับสถานการณ์ ‘โควิด-19’ ในประเทศไทย. ออนไลน์สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875664
นิตย์ระดี วงษ์สวัสดิ์ (2553). การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมากจากการคัดถนนนครอินทร์บริเวณส่วนต่อจากสะพานพระราม 5บรรจบถนนกาญจนาภิเษก.รายงานการวิจัย
ปาริชาติ สังข์ทิพย์ (2546). ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมส่งผลต่อชุมชนแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
พัทธวรรณ์ เลิศสุชาตวนิช (2559). การพัฒนาแบบจำลองสำหรับการประเมินความวิกฤตจากท่องเที่ยวประเภทภูเขาลูกโดด กรณีศึกษาเขากระโจม อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิเชษฐ์ คนซื่อ (2557). การศึกษาผลกระทบของบอลการพนันบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา อำเภอโป่งน้ำร้อนจังหวัดจันทบุรี. ภาคนิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
วราคม ทีสุกะ (2527). มนุษย์กับสังคม. โรงพิมพ์มิตรสยาม. กรุงเทพมหานคร
ศุภธิดา ก้อนศิลา (2555). จากการศึกษาเรื่องผลกระทบจากการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกรณีศึกษาสามพันโบก ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ