พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา กรณีศึกษา แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์

Wai Khru Ceremony of Northern Thai Folk Dance: Case Study Maekru Buariao Rattanamaniporn

ผู้แต่ง

  • รัตนะ ตาแปง
  • อิงอร จุลทรัพย์
  • สุดาพร นิ่มขำ

คำสำคัญ:

พิธีไหว้ครู, นาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา, บัวเรียว รัตนมณีภรณ์

บทคัดย่อ

          พิธีไหว้ครู เป็นพิธีที่แสดงออกถึงความเคารพ และความกตัญญูกตเวทีต่อครูผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านใดด้านหนึ่งของผู้เรียนต่อครูบาอาจารย์ และเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาตามรูปแบบของวิชาความรู้ในแต่ละแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง    พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ ที่มีความแตกต่างในทางปฏิบัติตามจารีต แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ พิธีแบบพื้นบ้าน และพิธีแบบหลวง ซึ่งพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์แบบพื้นบ้านมีความแตกต่างกันตามแต่ละภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ในพิธีไหว้ครูแต่ละภูมิภาคยังสามารถแบ่งตามรูปแบบของนาฏศิลป์แต่ละประเภทได้อีก เช่น พิธีไหว้ครูโนราของภาคใต้ พิธีไหว้ครูฟ้อน ของภาคเหนือ หรือที่เรียกว่า พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา

          การศึกษาพิธีไหว้ครูพื้นบ้านล้านนา กรณีศึกษา แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ เป็นการศึกษาจากข้อมูล   ทุติยภูมิ จากสื่อ ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง สูจิบัตร เอกสาร หนังสือ และตำรา รวมถึงการสัมภาษณ์จากกลุ่มบุคคล ผู้ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา เป็นการศึกษารูปแบบพิธีไหว้ครูพื้นบ้านล้านนาสายสกุลช่างฟ้อน แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน - ช่างฟ้อน) พุทธศักราช 2559 ผลการศึกษา พบว่า แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ได้จัดทำรูปแบบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา 3 รูปแบบ คือ พิธีไหว้ครูรับเป็นศิษย์ พิธีไหว้ครูประจำปี และการประกอบพิธีไหว้ครูให้กับสถาบันการศึกษาประจำปี ซึ่งพิธีไหว้ครูดังกล่าวเป็นการสร้างกระบวนการยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้กับลูกศิษย์  สร้างความเคารพซึ่งกันและกันในสำนัก สร้างความสามัคคีในสำนัก เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของลูกศิษย์ในการดำเนินงานและสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับลูกศิษย์ในการแสดงออก

References

กรม, ส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). คำประกาศเกียรติคุณศิลปินแห่งชาติ นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

จิรชาติ สันต๊ะยศ. (2551). พระราชชายาเจ้าดารารัศมี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2554). คนเมืองประวัติศาสตร์ล้านนาสมัยใหม่ (พ.ศ.2317-2553). (พิมพ์ครั้งที่ 2.) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิตินัดดา มณีจันทร์ และยุทธการ ขันชัย. (2552). ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

บ้านจอมยุทธ. (2543). ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่. สืบค้นจาก https://www.baanjomyut.com

บัวเรียว รัตนมณีภรณ์. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน – ช่างฟ้อน) พุทธศักราช 2559 . (15 เมษายน 2565). สัมภาษณ์.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนี วิศิษฎ์วโรดม. (2557). วิถีกลองจัย:ย่ำย่างสู่เส้นทางภายในการพัฒนามิติภายในผ่านกระบวนการฝึกกลองจัยมงคล. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัตนะ ตาแปง. (2562). กระบวนการสร้างเครือข่ายศิลปะการแสดงพื้นเมืองล้านนา กรณีศึกษา: พ่อครูคำ

กาไวย์ แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ และเครือข่ายระดับภาค. รการประชุมวิชาการด้านความก้าวหน้าทางศิลปวัฒนธรรม และการออกแบบระดับชาติ ครั้งที่ 1. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และคณะวิจิตรศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วันที่ 17 พฤษภาคม 2562.

วราภรณ์ ไชวงศ์ญาติ. (2552). พิธีไหว้ครูฟ้อนเมือง. ข่วงผญา: รวบรวมบทความไหว้ครู สรรพสล่าล้านนา ฉบับสมโภชศาลาพระจตุรทิศและยกฉัตรมณฑปพระพิฆเนศ. เชียงใหม่: สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ศิลปวัฒนธรรม. (2528). ประเพณีไหว้ครู มาจากไหน? จากคติพราหมณ์ ถึงสมัยกรมพระยาดำรงฯ และแบบพิธีราชการ. สืบค้นจาก https://www.silpa-mmag.com/culture

สงกรานต์ สมจันทร์. (2559). ประวัติดนตรีล้านนา. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สนั่น ธรรมธิ. (2553). นาฏดุริยการล้านนา – ฟ้อนเจิง. สืบค้นจาก http://www.openbase.in.th/node/6928

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2551). ประวัติศาสตร์ล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: อมรินทร์บุ๊คเซ็นตเตอร์.

สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ไหว้ครู 23 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นจาก https://royalsociety.go.th

สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ไหว้ครู 7 เมษายน 2554. สืบค้นจาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. (2555). พจนานุกรมยวนล้านนา – ไทยปริวรรต ฉบับ 750 ปี เมืองเชียงราย. เชียงราย: ล้อล้านนา.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2022