ลิเกพื้นเมืองล้านนา คณะ ส.สันคะยอม 2 อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ภูเดช แสนสา นักวิชาการอิสระ
  • ฐิตาภรณ์ ชุมภูศรี

คำสำคัญ:

ลิเกพื้นเมืองล้านนา , ส.สันคะยอม 2 เชียงใหม่ , สันป่าตอง

บทคัดย่อ

            ลิเกพื้นเมืองล้านนาเกิดขึ้นเมื่อเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เสด็จกลับนครเชียงใหม่เป็นการถาวร  ในปี พ.ศ. 2457             ปีต่อมาได้รับครูรอด ครูชั้น อักษรทับ ครูดนตรีและนาฏศิลป์ไทยมาเป็นครูสอนดนตรีไทย ฟ้อนรำ ละคร โขน รวมถึงลิเก ให้เจ้านายฝ่ายเหนือและข้าราชบริพารภายในคุ้มท่าเจดีย์กิ่ว (คุ้มริมปิง) โดยเริ่มแรกได้จัดแสดงเป็นการภายในในพระตำหนักส่วนพระองค์ที่คุ้มท่าเจดีย์กิ่ว และมีการนำมาจัดแสดงบูชาเสาอินทขีล ที่วัดเจดีย์หลวงเพียงปีละครั้ง ภายหลังพ่อบุญมี ปัญญายศ หนึ่งในผู้เล่นลิเกในคุ้มท่าเจดีย์กิ่วได้สืบทอดให้มิตรสหายและลูกศิษย์จัดแสดงร่วมกันในงานใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีลประจำปีสืบต่อมา แต่บรรดามิตรสหายและลูกศิษย์เกือบทุกคนไม่ได้นำการแสดงลิเกมาเป็นอาชีพ เป็นการแสดงชั่วครั้งชั่วคราวในงานพิธีกรรมของเมืองเท่านั้น มีเพียงพ่อทองสุข ชุมภูศรี ที่ยึดแสดงลิเกเป็นอาชีพ เนื่องจากเคยเล่นลิเกกับคณะลิเก ส.ประเสริฐศิลป์  และได้จัดตั้งคณะลิเก ส.สันคะยอม 2 มาตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว 

              ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรยากาศความนิยมชมลิเกในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน                        เป็นไปอย่างคึกคัก ประกอบกับขณะนั้นเส้นทางรถไฟได้มาถึงจังหวัดเชียงใหม่หลายปีแล้ว จึงทำให้การเดินทางสะดวกสบาย โดยเฉพาะการขนย้ายสัมภาระต่าง ๆ ดังนั้นจึงมีคณะลิเกไทยจากจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอื่น ๆ  ในภาคกลางได้เดินทางขึ้นมาเปิดโรงลิเกจัดแสดงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนเป็นระยะ ๆ นักแสดงลิเกและนักดนตรีไทยหลายคนที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนได้กลายเป็นครูสอนลิเก รวมถึงตีระนาดประกอบการเล่นลิเกให้กับคนท้องถิ่นจนคนท้องถิ่นสามารถตั้งคณะลิเกพื้นเมืองล้านนาอีกกว่า  20 คณะ ในช่วงทศวรรษ 2490 – 2500

           ส่วนคณะ ส.สันคะยอม 2 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2498 สืบต่อจากคณะ ส.ประเสริฐศิลป์ ที่ก่อตั้งเมื่อ  ปี พ.ศ. 2490           ซึ่งผู้ก่อตั้งคณะ ส.ประเสริฐศิลป์ คือ พ่อน้อยแสน เตจ๊ะ บ้านสันคะยอม ได้เรียนลิเกกับพ่อมอย พ่อน้อยโม่ง และพ่อมา            ลิเกพื้นเมืองล้านนารุ่นเก่าบ้านสันป่าตอง ภายหลังพ่อทองสุข  ชุมภูศรี ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์และเล่นลิเกกับพ่อน้อยแสน         เตจ๊ะ เมื่อคณะ ส.ประเสริฐศิลป์ได้ยุบคณะ พ่อทองสุข ชุมภูศรี จึงได้ฟื้นฟูและก่อตั้งขึ้นมาอีกครั้งเป็น คณะ ส.สันคะยอม 2  สืบมาจนปัจจุบัน โดยสามารถแบ่งพัฒนาการของคณะ  ส. สันคะยอม 2 ออกเป็น 2 ช่วง  ได้แก่ ช่วงแรกบริหารคณะ                โดยพ่อทองสุข  ชุมภูศรี  ส่วนใหญ่ยังคงสืบทอดตามลักษณะลิเกพื้นเมืองล้านนาแบบเดิม โดยเพิ่มสิ่งแปลกใหม่ด้านรูปแบบการแสดงเข้ามา เช่น รำอวยพร   เต้นฟลอโชว์ ดนตรีลูกทุ่ง และลิเกเสิด และช่วงที่ 2 บริหารคณะโดย พ่อนิเวศน์  ชุมภูศรี        ได้มีการปรับเพิ่มหลายอย่างเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและถูกใจผู้รับชมในยุคปัจจุบัน ทั้งแสงสีเสียง เครื่องดนตรี เครื่องแต่งกาย มีเวทีลิเก และรถบรรทุกขนย้ายอุปกรณ์การแสดงของตนเองที่สามารถรับทำการแสดงได้ทั้งภาคเหนือและ                   ทั่วประเทศ   

   

References

จักรพันธ์ ปัญญา. (2547). การศึกษาลวดลายเครื่องแต่งกายเครื่องทรงลิเก กรณีศึกษาคณะ ส.สันคะยอม 2 บ้านสันคะยอม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: สาขาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ญาณเทพ อารมณ์อุ่น. (2554). วิเคราะห์บทเพลง จรัล มโนเพ็ชร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณิชาภา นิรัติศยภูมิ. (2560). การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีบูชาบรรพกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ณ แจ่งศรีภูมิ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนพชร นุตสาระ. (2558). ลิเกล้านนา. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ. (2541). ลิเก. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พริ้นท์

พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ. (ม.ป.ป.). ลิเก. กรุงเทพฯ: บันทึกสยาม

พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ. (2545). ลิเก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

มณี พยอมยงค์. (2513). ประวัติวรรณคดีลานนา. เชียงใหม่: คนเมืองการพิมพ์.

สงกรานต์ สมจันทร์. (2563). ประวัติดนตรีล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ส.อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี.

สัมภาษณ์นางสาวณิชาภา นิรัติศยภูมิ นักวิจัยสมทบ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564.

สัมภาษณ์แม่ตุ่นแก้ว ดวงฤทธิ์ อายุ 66 ปี บ้านเลขที่ 55/1 หมู่ที่ 3 บ้านห้วยทราย ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564.

สัมภาษณ์พ่อนิเวศน์ ชุมภูศรี อายุ 34 ปี บ้านเลขที่ 239 หมู่ที่ 10 บ้านเหล่า ตำบลทุ่งต้อม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564.

สัมภาษณ์แม่บานเย็น เตจ๊ะ อายุ 77 ปี บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 3 บ้านสันคะยอม ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564.

สัมภาษณ์พระครูปลัดมานพ ชยวุฑฺโฒ วัดยางทอง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564.

สัมภาษณ์พ่อหล้า เตจ๊ะ อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 3 บ้านสันคะยอม ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564.

สัมภาษณ์พ่อสุเทพ อินคอม อายุ 84 ปี บ้านเตาไห ตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564.

สุจินดา ไชยากุลสรากร. (2560). องค์ความรู้ที่เข้มแข็งในการจัดการศิลปะการแสดงลิเกล้านนาของคณะลิเกมีชัยนาฏศิลป์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: สาขาจัดการการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุรพล วิรุฬรักษ์. (2539). ลิเก. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สุริยา สมุทคุปติ์, พัฒนา กิติอาษา และศิลปกิจ ตี่ขันติกุล. (2541). แต่งองค์ทรงเครื่อง : “ลิเก” ในวัฒนธรรมประชาไทย. นครราชสีมา : ห้องไทยศึกษานิทัศน์.

แสงดาว ณ เชียงใหม่. เจ้า. (2517). พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่: กลางเวียง.

อรัญ ยูแบงค์ และสมคิด ชัยวัฒน์. (2532). ค่านิยมทางสังคมและศาสนาต่อการแสดงลิเกในล้านนา. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022