แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหัวฝาย ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ประคอง ชลากาญจนา
  • ทิพรัตน์ หมายหมั้น
  • เสาวลักษณ์ ปาคำ
  • ไอลดา เค้ามูล

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, สมุนไพรแปรรูป, วิสาหกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปของบ้านหัวฝาย และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าสมุนไพรแปรรูปบ้านหัวฝาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรแปรรูปบ้านหัวฝาย ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรสมุนไพรทางการแพทย์ แม่ริม จำนวน 1 คน กลุ่มประธานวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอีฟเฮิร์บเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 คน กลุ่มชาวบ้านและกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 10 คน โดยมีแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านหัวฝาย คือ ปัจจุบันบ้านหัวฝายมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป คือ ลูกประคบ ยาหม่อง และการแปรรูปลูกประคบ สำหรับจำหน่ายเพื่อการส่งออกขายเป็นส่วนใหญ่ 2) การศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าสมุนไพรแปรรูปบ้านหัวฝาย พบว่า ชุมชนบ้านหัวฝายมีการยกระดับความน่าสนใจในผลิตภัณฑ์สมุนไพร และออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และเป็นเอกลักษณ์เพื่อเกิดมูลค่าเพิ่มในตัวผลิตภัณฑ์ โดยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชสมุนไพร และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชสมุนไพร เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน

 

References

กรุณา จันทุม และกัลยารัตน์ กำลังเหลือ. (2560). การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและตำรับยาโบราณจากหมอพื้นบ้าน. วารสาร J Med Health Sci. 24(2), 47-57.

นงลักษณ์ จิ๋วจู, ทิพย์วรรณ ศิบุญนันท์, ชญานันท์ ศิริกิจเสถียร และวีรวรรณ แจ้งโม้. (2559). การพัฒนาการแปรรูป

พืชสมุนไรตามภูมิปัญญาท้องถิ่น จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา: บ้านโพธิ์พัฒนา ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(พิเศษ พฤศจิกายน 2559), 83-93.

ประพันธ์ ภักดีกุล. (2549). รูปแบบและปัจจัยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยศักยภาพและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10(1), 994-1013.

รุจิจันทร์ วิชิวานิเวศน์. (2554). การพัฒนาระบบฐานความรู้ด้านการรักษาโรคด้วยสมุนไพร. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Thaiherbmedicine. (2559). สมุนไพร. สืบค้นจาก https://thaiherbmedicine.wordpress.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2022