การวิเคราะห์ปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวของขบวนการ ทางสังคมเพื่อการอนุรักษ์ชุมชนเมือง
คำสำคัญ:
การเคลื่อนไหวทางสังคม, การอนุรักษ์ชุมชนเมือง,, กระบวนการกลายเป็นเมืองบทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคม เพื่อการอนุรักษ์ชุมชนเมืองโดยมุ่งตอบคำถามหลัก 4 ประการ คือ 1) ปัจจัยที่นำไปสู่การสร้างการเคลื่อนไหว 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว 3) กลยุทธ์เพื่ออนุรักษ์ชุมชนเมือง และ 4) สิ่งสนับสนุนต่อปฏิบัติการอนุรักษ์ชุมชน โดยศึกษาบทเรียนกรณีการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมเพื่ออนุรักษ์ชุมชนเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำการวิเคราะห์หาจุดร่วมของประเด็นแต่ในละปรากฏการณ์ จากการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่นำไปสู่การสร้างการเคลื่อนไหว ประกอบด้วยปัจจัยหลัก ได้แก่ ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนในชุมชน การเสียผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ และการสูญหายไปของมรดกทางสถาปัตยกรรม ปัจจัยเสริม ได้แก่ ความสำคัญของพื้นที่ นโยบายและแผนพัฒนาเมือง กระแสการอนุรักษ์และการโหยหาอดีต และความเสื่อมโทรมจากการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ได้แก่ กลุ่มคนในชุมชน เจ้าของที่ดิน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรหรือหน่วยงานภาคเอกชน และ นักวิชาการ 3) กลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการอนุรักษ์ชุมชนเมือง ประกอบด้วย การขัดขืนกับผู้มีอำนาจ การต่อรองผ่านช่องทางการเมืองปกติ การนำเสนออัตลักษณ์ของชุมชนเมือง การหาพันธมิตรเพื่อสนับสนุนขบวนการ การใช้สื่อและเวทีวิชาการเพื่อสนับสนุนประเด็นปัญหา การนำเสนอทางเลือกการพัฒนาชุมชนเมืองด้วยตนเอง และ การพึ่งบารมีของสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 4) สิ่งสนับสนุนต่อปฏิบัติการอนุรักษ์ชุมชน ได้แก่ โลกทัศน์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ชุมชนเมืองของผู้ครอบครองพื้นที่ / เจ้าของที่ดิน การจัดการองค์กรชุมชน การสนับสนุนจากแนวร่วมหรือพันธมิตร และการใช้สื่อเพื่อเพิ่มพลังแก่ปฏิบัติการ ข้อค้นพบดังกล่าวสามารถที่จะให้แนวทางสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาประเด็นการอนุรักษ์ชุมชนเมือง เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ได้อีกแง่มุมหนึ่ง
References
เครือมาศ มารอด. (2563). ความเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬ พ.ศ. 2550-2561. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จิราภา วรเสียงสุข และอิทธิพร ขำประเสริฐ. (มปป). การศึกษากระบวนการเคลื่อนไหวขององค์กรชุมชนเพื่อปกป้องสิทธิการใช้พื้นที่กรณีศึกษาชุมชนชั้นกลางแห่งหนึ่งในย่านเยาวราช. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาตรี ประกิตนนทการ. (2549) ชุมชนซอยหวั่งหลีวัดยานนาวา: ประวัติศาสตร์การค้าชาวจีนในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.
ฐากร สิทธิโชค. (2561). ชุมชนป้อมมหากาฬ : การต่อสู้เพื่อแก้ปัญหาการไล่รื้อที่ดิน. วารสารอินทนิลทักษิณสาร. 13(1), 9-29.
ฐานเศรษฐกิจ. (2564). พลิกตำนาน 'เวิ้งนาครเขษม' สู่แลนด์มาร์คแห่งใหม่. สืบค้นจาก www.thansettakij.com
ปรานอม ตันสุขานันท์. (2559). การอนุรักษ์ชุมชนเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรัชญา ลือชาจรัสสิน. (2557) การศึกษากระบวนการออกแบบเพื่อการพัฒนาและอนุรักษ์ย่านไช่นาทาวน์ กรณีศึกษาชุมชนเวิ้งนาครเขษม. วารสารJARS. 13(2), 73-80.
ภูริรัฐ พฤกษ์เนรมิต. (2563). การโหยหาอดีต: การศึกษาวิธีวิทยาในผลงานวิชาการของไทย (พ.ศ.2546-2563). วารสารปาริชาติ. 34(3), 1-16.
นลินา ไชยะ. (2563). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยพื้นที่สาธารณะ การเคลื่อนไหวทางสังคมและสื่อสังคมออนไลน์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(1), 14-31.
มณีมัย ทองอยู่. (2557). แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาว่าด้วยขบวนการทางสังคม. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2557). การปรับปรุง ฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิธร โคมกระโทก. (2563). การเปลี่ยนแปลงของชุมชนจีน “เจริญไชย พ.ศ.2411-2563”. นครปฐม: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สลิลตา ศรีสันต์. (2557). เรื่องเล่าในวันวานของชาวเวิ้งนาครเขษม เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ. (2556). บทบาทขององค์กรชุมชนในกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาชุมชนของประเทศกำลังพัฒนา กรณีศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารหน้าจั่ว. 27(2556), 203-238.
สุธิดา พัฒนศรีวิเชียร. (2562). พลังของสื่อสังคมกับการขับเคลื่อนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 27(53), 132-155.
สิทธิพร ภิรมย์รื่น. (2547). การอนุรักษ์ชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม: แนวคิดหลักการและผลการปฏิบัติ. วารสารหน้าจั่ว. 20, 40-56.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์. (2563). สิทธิชุมชน. กรุงเทพฯ: กลุ่มผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์.
อิทธิพร ขำประเสริฐ. (2550). กระบวนการสร้างภาพแสดงแทนเพื่อสิทธิเชิงพื้นที่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อิทธิพร ขำประเสริฐ. (2566). การศึกษาปรากฏการณ์อนุรักษ์ชุมชนเมืองของขบวนการทางสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเมือง. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
Halbwachs, M. (1992). Introduction: Maurice Habwachs 1877 – 1945. In Lewis A. Coser. (ed). On collective memory. Chicago: University of Chicago Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ