แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเวียงกุมกาม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จุทาทิพย์ อินทะนนท์ นักวิชาการอิสระ
  • กานต์สิริ ปันทะนุ นักวิชาการอิสระ
  • อโรชา ศรีสัตตยะบุตร นักวิชาการอิสระ
  • วิชุดา ศรีสัตตยะบุตร นักวิชาการอิสระ
  • เพียงนภา เนาวเรศ นักวิชาการอิสระ
  • ปรีณาพรรณ เลาหมู่ นักวิชาการอิสระ
  • วิภาวรรณ์ ทาสิงห์คำ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การพัฒนา , แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชน ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการท่องเที่ยวของชุมชน และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็น      เครื่องมือรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 383 คน

         ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.13 ด้านภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.58 รองลงมา คือ ด้านการเมืองท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 และด้านการตระหนักถึงผลกระทบ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 2.73            ส่วนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการท่องเที่ยวของชุมชน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.55 ด้านการมีส่วนร่วม.นการวางแผน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2.84 รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตาม / ประเมินผล   มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52 และด้านการมีส่วนร่วมศึกษาค้นคว้าปัญหา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 2.38 และแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15 ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.50 รองลงมา คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 และด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 2.97 ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ควรพัฒนาด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยให้มีการส่งเสริมประเพณีที่ขึ้นชื่อของแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน วัฒนธรรมของชุมชน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยในการเข้ามาเที่ยวชมโบราณสถาน ซึ่งเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืนโดยต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหาแนวทางพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเกิดความยั่งยืนสืบไป

References

จินตนา สุจจานันท์. (2549). การศึกษาและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ณัฐพงษ์ สายพวงแก้ว. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวศิลปกรรมเวียงกุมกามจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรรณเพ็ญ วัฒนมงคลลาภ. (2560). แนวทางในการพัฒนาชุมชนในเขตเขตอำเภอเมืองแพร่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มนัส สุวรรณ. (2541). การจัดการการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วริศรา บุญสมเกียรติ. (2555). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดนครศรีธรรมราช: วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดธาตุน้อย และโบราณสถานวัดโมคลาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลป-ศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศราวุธ ผิวแดง. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2563). รื้อฟื้นเมืองประวัติศาสตร์เวียงกุมกามที่เชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com

สุกัญญา วงศ์เจริญชัยกุล. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2023