แนวทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มกลองปู่จา บ้านแม่แรง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การอนุรักษ์ , การมีส่วนร่วมของชุมชน , กลองปู่จาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของการตีกลองปู่จาของชุมชนบ้านแม่แรง ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมกลองปู่จา และเพื่อศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มกลองปู่จาในชุมชนบ้านแม่แรง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นการทำวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครู ผู้นำชุมชน สมาชิกกลุ่มกลองปู่จา เยาวชน และตัวแทนชาวบ้านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนบ้านแม่แรง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน และใช้แบบสอบถาม จำนวน 251 คน สำหรับเครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยการเขียนบรรยาย พรรณนา และแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป (Excel) นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลวิจัยพบว่า ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของการตีกลองปู่จาของชุมชนบ้านแม่แรง กลองปู่จาจัดเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุด ก่อนจะก่อตั้งกลุ่มสมาชิกกลองปู่จาเป้าหมายที่จะพัฒนาการตีกลองปู่จา คือ จากการสืบทอดของพ่อครูไชยวัฒน์ บุญสม ได้มีการสืบทอดไว้เพราะกลองปู่จาเป็นเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมกลองปู่จา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 251 คน โดยตัวชี้วัดที่ค้นพบ คือ การมีส่วนร่วมด้านการรับผลประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.46 เพราะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมกลองปู่จา ในด้านการมีรายได้เพิ่มขึ้นระหว่างการออกงานต่าง ๆ ของการตีกลองปู่จา และแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มกลองปู่จาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตนเองจากการเข้าร่วมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมกลองปู่จา.ห้มีการสืบสานต่อภายในอนาคต
References
จิระวัฒน์ บุญล้ำ. (2551). การศึกษาวงกลองปู่จา ในจังหวัดลำพูน. ปริญญานิพนธ์ ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐพงศ์ ปันดอนตอง. (2564). กลองปูจาในประวัติศาสตร์ล้านนา พิธีกรรม ความเชื่อในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 8(1), น. 15 – 28.
ธนพงศ์ เด็ดแก้ว. (2557). กลองปูจาในวัฒนธรรมไทลื้อ ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นงลักษณ์ ใจฉลาด ชญานิษฐ์ ศศิวิมล และ พรทิพย์ ครามจันทึก. (2560). การศึกษาปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางที่เหมาะสมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณ๊ศึกษา ตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
พระธนาเทพ สกฺกวํโส (ศักดิ์วงค์). (2560). ศึกษาการอนุรักษ์ก๋องปู่จาของชาวพุทธ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2546). สังคมวิทยาชุมชน: หลักการศึกษาวิเคราะห์และปฏิบัติงานชุมชน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยลัยขอนแก่น.
สำนักงานจังหวัดลำปาง. (2551). ก๋องปู่จาจังหวัดลำปาง. สืบค้นจาก http://ich.culture.go.th
อาทิตย์ วงศ์สว่าง. (2557). การอนุรักษ์และฟื้นฟูการตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่มลายคำใน จังหวัดเชียงใหม่.
การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ