กระบวนการสืบสานดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา คณะรักศิลป์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นนท์ธิชา คำมะณี
  • เอมมิกา ปะดี
  • จิราวรณ์ ดีมาก
  • รัฐคม ดีบู่

คำสำคัญ:

ดนตรีืพื้นเมือง, ภูมิปัญญาล้านนา, ป้าดก๊อง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการสืบสานดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา คณะรักศิลป์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา 2) ปัญหาและอุปสรรคในการสืบทอดภูมิปัญญาดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา และ 3) กระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาดนตรีพื้นเมือง  ป้าดก๊องล้านนาของคณะรักศิลป์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้าคณะ ผู้สืบทอด และผู้เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 9 คน โดยมีเครื่องมือการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการการบรรยายและพรรณนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (Descriptive analysis)

ผลวิจัยพบว่า กระบวนการสืบทอดดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา คณะรักศิลป์ มีกระบวนการสืบทอด  ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะวง โดย นายสวง ต่ายพูล (บุตร) ของพ่อครูสวัสดิ์ ต่ายพูล ผู้สืบทอดจากครูรอด อักษรทับ   จากวังพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ คณะรักศิลป์มีการบรรเลงที่ผสมผสานทั้งดนตรีไทยและดนตรีล้านนาเข้าด้วยกันจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของคณะรักศิลป์ที่โดดเด่น และยังมีบทบาทการอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา ด้วยการสอนให้กับเยาวชนหรือผู้ที่สนใจในดนตรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเรียน เพื่อสร้างอาชีพหารายได้ให้กับผู้รักในดนตรี โดยคณะรักศิลป์ให้ความสำคัญเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีป้าดก๊องล้านนาให้ยังคงอยู่ต่อไป

 

References

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2556). การสืบทอดทางวัฒนธรรม. สืบค้นจาก http://nattawats.blogspot.com

ปัญญา รุ่งเรือง. (2553). ดนตรีในวิถีชีวิตกะเหรี่ยงยางน้ำกลัดเหนือ ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง

จังหวัดเพชรบุรี . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประชุม บุญน้อม. (2546). การศึกษาความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาการสืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านวงปี่พาทย์

พื้นเมือง ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (ระยะที่ 2). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ปฐม นิคมานนท์. (2535). การค้นหาความรู้และระบบถ่ายทอดความรู้ในชุมชนชนบทไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พิพัฒน์พงศ์ มาศิริ. (2552). ป้าดก๊อง: วงปี่พาทย์ล้านนาในบริบทสังคมเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ภิญโญ ภู่เทศ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และพัฒนาเพลงพื้นบ้าน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์. Life Sciences and Environment Journal, 16(2), 211–219.

สกุณา พันธุระ. (2526). การศึกษาดนตรีผู้ไทยตําบลหนองห้าง อําเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์. ศิลปกรรมมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สนั่น ธรรมธิ. (2550). นาฎดุริยการล้านนา. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุทาน บุญเมือง, เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี, และสุชาติ แสงทอง. (2561). ป้าดก๊องล้านนา: การสืบทอดและการประสมวง.

วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 10(ฉบับพิเศษ เดือนมิถุนายน – กันยายน 2561). 201-212.

รายนามผู้ให้สัมภาษณ์

สวง ต่ายพูล. “องค์ประกอบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา แนหน้อย” สัมภาษณ์โดย นนท์ธิชา คำมะณี. 16 ธันวาคม 2565.

อุดม หลีตระกูล. “องค์ประกอบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา แนหน้อย” สัมภาษณ์โดย นนท์ธิชา คำมะณี. 16 ธันวาคม 2565.

ชนิตสิรี ต่ายพูล. “องค์ประกอบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา ฆ้องวงใหญ่” สัมภาษณ์โดย นนท์ธิชา คำมะณี. 16 ธันวาคม 2565.

พงพิพัฒน์ ศรีปัญญา. “องค์ประกอบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา ระนาดเอก” สัมภาษณ์โดย เอมิกา ปะดี. 16 ธันวาคม 2565.

อุทัย ทองขันธ์. “องค์ประกอบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา ระนาดเอก” สัมภาษณ์โดย เอมิกา ปะดี. 16 ธันวาคม 2565.

ชีวธันย์ ปัญญาวงศ์. “องค์ประกอบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา ฆ้องวงเล็ก” สัมภาษณ์โดย จิราวรณ์ ดีมาก. 16 ธันวาคม 2565.

สว่าง ต่ายพูล. “องค์ประกอบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา ระนาดทุ้ม” สัมภาษณ์โดย เอมิกา ปะดี. 16 ธันวาคม 2565.

อำนาจ พึ่งพันธ์. “องค์ประกอบของเครื่องดนตรีพื้นเมืองป้าดก๊องล้านนา แนหลวง” สัมภาษณ์โดย นนท์ธิชา คำมะณี. 16 ธันวาคม 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2023