วิจิตราแห่งภูษา บาบ๋า-ย่าหยา : แต่งกายจากการผสานรูปแบบศิลปะข้ามวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • อริสา ศิริเจริญไชย

คำสำคัญ:

เครื่องแต่งกาย, บาบ๋า-ย่าหยา, การแต่งงาน

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นบทสรุปที่ได้จากการศึกษาเฉพาะเรื่องของผู้เขียน เรื่อง “เครื่องแต่งกายบาบ๋า-ย่าหยา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดง ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2565 โดยบทความชิ้นนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการผสานวัฒนธรรมการแต่งกายที่เกิดจากการแต่งงานข้ามวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องแต่งกายบาบ๋า-ย่าหยา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และศึกษาองค์ประกอบเครื่องแต่งกายบาบ๋า- ย่าหยา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต การศึกษาครั้งนี้มีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล โดยใช้แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์และการบันทึกภาพเพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เขียนใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้มีกระบวนการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หนังสือ วารสาร บทความ และแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ผลจากการศึกษา พบว่าการแต่งงานเป็นกระบวนการที่สามารถกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานได้จากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมของคู่สามีภรรยาที่มีการดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกัน ซึ่งผลจากการผสานวัฒนธรรมมีการแสดงออกผ่านรูปแบบวิถีชีวิต ประเพณี อาหาร สถาปัตยกรรม และเครื่องแต่งกาย

 

References

บรรเจิด ตันติวิท. (2549). ผมเป็นบาบ๋าคนหนึ่ง เป็นบาบ๋าภูเก็ต. กรุงเทพฯ: วัฒนาการพิมพ์.

ปิยะนันท์ ลานยศ. (2553). เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของชาวเปอรานากัน ในเขตเมืองเก่า อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์การพิมพ์.

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์. (2562). First Generation การเดินทางของคนรุ่นเสื่อผืนหมอนใบ. กรุงเทพฯ: แซลมอน.

วิกรม กรุงแก้ว. (2563). วัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชาติพันธุ์บาบ๋าในจังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(1), 60-71.

อภิชาติ สมบัติ. (2557). วัฒนธรรมการแต่งกายชุดย่าหยาและรองเท้าปักของสตรี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2024