แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียงตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
วิสาหกิจชุมชน, การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน, แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียง ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียง จำนวน 11 กลุ่ม เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานวิจัย (SPSS) และนำเสนอผลการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัยพบว่า การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง บ้านสันป่าเหียง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 (S.D.=0.86) โดยด้านลักษณะของผู้นำกลุ่มเป็นที่มีความรู้และความสามารถที่จะปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มได้ มีความรับผิดชอบ และมีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.87 (S.D.=1.13) โดยเงินทุนในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังไม่เพียงพอ เพราะขาดเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินงานของกลุ่ม และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. (S.D.=0.92) โดยในด้านศักยภาพชุมชนนั้นสามารถส่งเสริมให้ชาวบ้านมีความภาคภูมิใจในสินค้าที่มาจากผลผลิตในชุมชนและนำเอาผลผลิตมาแปรรูปได้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาชุมชนในทุก ๆ มิติ ไปพร้อมกัน
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2554). แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). สืบค้นจาก https://www.irrigation.rid.go.th
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จินดารัตน์ ชูคง และ วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2563). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุ ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐพนธ์ สกุลพงษ์. (2565). รูปแบบการดำเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เณศรา สวยดี, กฤษฎี สุวรรณชาตรี และ ชยุต อินทร์พรหม. (2564). ศึกษาปัจจัยความสำเร็จการจัดการธุรกิจชมชน กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านนาออก ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ทองวัน ปัญญาแด้. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องเทคโนโลยีการอบแห้งลำไยและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทศพร แก้วขวัญไกร. (2560). ทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแนวทางวิสาหกิจ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 9(2), 33-50.
พิชยารัชน์ ดิฐภักดีคุณานนท์. (2565). การพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ลำไยตามแนวพุทธของตำบลพญาแก้ว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัฒนา จันทนุปาน, โกวิท โลเกศเสถียร, คมกริช นาคะลักษณ์, เจริญภพ พรวิริยางกูร, นุชจรี วงษ์สันต์, พิษณุ หลีหีม, วัลลภ มากบัว, สุทธิพงษ์ บุญนิธิ และ อานันต์ อินทร์จันทร์. (2561). การศึกษาการยกระดับศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันปกเกล้า.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559. สืบค้นจาก https://www.ku.ac.th /SummaryPlan11_thai.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). ภาวะเศรษฐกิจเกษตร ปี 2559 และแนวโน้มปี 2560. สืบค้นจาก https://www.oae.go.th /view/1/เอกสารเผยแพร่/TH-TH
สุพาดา สิริกุตตา. (2566). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยืน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลไม้บ้านยาวี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสังคมศาสตร์, 26(1), 89-104.
อิสรี แพทย์เจริญ, อริย์รัช อักษรทับ และ ชาญวิทย์ จาตุประยูร. (2565). ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทองตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 32(2), 83-98
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ