ปัญหาและความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านเมืองกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
สวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ, อำเภอจอมทองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่บ้านเมืองกลาง 2) เพื่อศึกษาปัญหาสวัสดิการสังคมของผู้สุงอายุบ้านเมืองกลาง และ 3) เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุบ้านเมืองกลาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 238 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลวิจัยพบว่า สถานการณ์การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่บ้านเมืองกลาง ในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (รพ.สต.) มีสถานพยาบาลเพื่อบริการผู้สูงอายุที่ต้องรักษาพยาบาลอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง ในขณะที่ปัญหาด้านการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ บ้านเมืองกลาง พบว่า ปัญหาด้านผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.07 โดยผู้สูงอายุ ไม่มีความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยี และความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุบ้านเมืองกลาง พบว่า ความต้องการด้านร่างกาย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 โดยผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่ต้องการให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีและต้องการให้มีประกันสุขภาพ
References
กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, จีระ ประทีป และพรรณอร วันทอง. (2557). รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. สันติศึกษาปริทรรศ์ มจร, 8(2), 656-670.
กรจงรักษ์ ชาตรูปฏิวิน. (2561).ปัญหาของผู้สูงอายุกับการจัดสวัสดิการชุมชนในเขตเมือง ศึกษากรณี 2 ชุมชน ในเขตวังทองหลวง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
คนึงนิตย์ ปุลัมรัมย์. (2564). ความต้องการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองไผ่
อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
เทศบาลตำบลบ้านหลวง. (2566). ประวัติและข้อมูลทั่วไป. สืบค้นจาก https://www.banloung.go.th
ธนเดช คิมเนียง. (2564). ความต้องการด้านสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริการส่วนตำบลธารละหลอด อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยบุรีรัมย์.
นฤมล ถาวร. (2561). การบริหารจัดการด้านการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ปาริฉัตร พันธุ์ภักดี. (2564 ). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาและอาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะคร้ำเอน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ศศิวิมล กองทรัพย์เจริญ. (2563). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตตำบลตาสิทธิ์ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมปอง สุวรรณภูมา, พระมหาชาติชาย ปญฺญาวชิโร, ผดุง วรรณทอง และ เดชา กับโก. (2563). แนวทางการจัดการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 7(1), 106-120.
พระครูภัทรปัญญาคุณ (เวียง แช่อุ้ย). (2560). การศึกษาความต้องการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภานุรุจ เดชาวี. (2555). ความต้องการสวัสดิการสังคมชองผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลยามแย้มวัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกีรยติ จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
มณฑิตา ศรีพล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สมชาย สภา. (2561). รูปแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2564). ผู้สูงอายุไทยต้องปรับตัวอย่างไร? เพื่อพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Active Aging). สืบค้นจาก https://www.nxpo.or.th /th/gallery/14953/
อรรถพงค์ คชศักดิ์. (2562). แนวทางการจัดสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารข่วงผญา” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ